รูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียน ประถมศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม

ผู้แต่ง

  • บุญสืบ ยังเจริญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์
  • ธานี เกสทอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์

คำสำคัญ:

การบริหาร, ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, หลักกัลยาณมิตรธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารชุมชนแห่ง
การเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนประถมศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1
2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนประถมศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม  3)เพื่อประเมินรูปแบบ
การบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนประถมศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม วิธีดำเนินการวิจัย มี 3 ระยะ ระยะแรกศึกษาองค์ประกอบ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหาร  ศึกษานิเทศก์ อาจารย์มหาวิทยาลัย ครู โดยการสัมภาษณ์จำนวน 18 คน ระยะสอง สร้างรูปแบบโดยสัมมนาอิงเชี่ยวชาญ 9 คนผู้ให้ข้อมูลคือผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา 3 คนผู้เชี่ยวด้านการบริหาร 3 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 3 คน ระยะที่ 3 ประเมินรูปแบบโดยเก็บข้อมูลจากผู้อำนวยการโรงเรียน 30 คน ด้วยแบบประเมิน สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า 1)ผลการศึกษาองค์ประกอบรูปแบบการบริหารชุมชนแห่ง
การเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนประถมศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 มี 6 ด้าน ได้แก่ (1) ภาวะผู้นำผู้บริหารสถานศึกษา (2) การทำงานเป็นทีม (3) การสร้างวัฒนธรรมองค์กร (4) การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม  (5) การเรียนรู้และการพัฒนา (6) การสร้างความร่วมมือ  2) ผลการสร้างรูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนประถมศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 ตามหลักกัลยาณมิตรธรรมมี 3 ส่วนคือส่วนนำประกอบด้วยหลักการและวัตถุประสงค์ ส่วนเนื้อหาประกอบด้วยองค์ประกอบทั้ง 6 ด้าน และส่วนเงื่อนไขความสำเร็จอธิบายถึงสิ่งที่คำนึงถึงในการนำรูปแบบไปใช้ และ 3) ผลการประเมินรูปแบบ ฯ พบว่าความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กานต์ กุณาศล. (2542). การประถมศึกษา. กาญจนบุรี: สถาบันราชฏกาญจนบุรี.

เจริญผล สุวรรณโชติ. (2544). ทฤษฎีการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: ทิชชิ่งเอ็ท.

ถวิล อรัญเวศ .(2566). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) คืออะไร. เรียกใช้เมื่อ 19 เมษายน 2566 จากhttp/thawin09.blogspot.com/2017/02/plc.

ธีระ รุญเจริญ.(2546). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่1).กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

บรรเทา กิตติศักดิ์. (2544). เอกสารประกอบคำบรรยายวิชาบริหารโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ชมรมเด็ก.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2543). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.

บุญทัน ดอกไธสง. (2539). พฤติกรรมสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพมหานคร: แอนด์อีกราฟฟิค.

พะนอม แก้วกำเนิด. (2532). บทบาทหน้าที่และภารกิจของผู้บริหารโรงเรียน.กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.

พัทธิพงศ์ พลอาจ. (2557).กลยุทธการพัฒนาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดกำแพงเพชรให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้.วารสารศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.16(1), 24-93.

ระวีวรรณ ชินะตระกูล และเดือนจิตต์ จิตต์อารี. (2534). วิธีวิจัยการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

วิจารณ์ พานิช. (2555).วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ:มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1.(2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะ 4 ปี (พ.ศ.2565-2568).เรียกใช้เมื่อ 19 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.Nsw1.go.th/index.php.

วรลักษณ์ ชูกำเนิด, และเอกรินทร์ สังข์ทอง. (2557). โรงเรียนแห่งชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นหัวใจสำคัญ.วารสารวิทยบริการ,มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.25(1), 93-102.

อำนาท เหลือน้อย. (2561).รูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมาตราฐานสากล. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Voelkel,R.H.Jr. (2011 )..A Case Study of the Relationship between Collective Efficacy and professional Learning Communities.San Diego: California University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-28