ภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 3

ผู้แต่ง

  • จิรศักดิ์ เรืองเศษ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • สุวัฒน์ อาษาสิงห์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • วศิน สอนโพธิ์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตร, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 322 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างการสุ่มอย่างง่ายตามตารางสำเร็จรูปเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าเอฟ

ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง และระดับการศึกษา โดยภาพรวมมีการปฏิบัติที่ไม่แตกต่างกัน และเมื่อจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีบุคลิกที่ดีทั้งภายนอกและภายใน รวมถึงการมีหลักธรรมเป็นเครื่องชี้นำในการทำงาน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคลากร มีกลวิธีที่หลากหลาย เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ตนเองมาประยุกต์และบูรณาการใช้ในการปฏิบัติงาน มีทักษะในการสื่อสารที่ดี มีเหตุผล รู้จักการประสานงาน เคารพและให้เกียรติบุคลากรทุกคน

 

References

จันทร์พิรุณ มหาหิงค์. (2566). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ชนากร ศาสตร์สกุล. (2565). หลักกัลยาณมิตรธรรม : หลักพุทธธรรมสำหรับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน, 8(3), 179 – 192.

เดือนฉาย เงางาม. (2565). ภาวะผู้นําตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 6(1), 39-50.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

ปิยะดา ก่อวุฒิกุลรังสี. (2560). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำผู้บริหารตามหลักกัลยาณมิตรธรรมโรงเรียนป้อมนาคราชสวาทยานนท์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสมชาย สิริปญฺโญ. (2558). การบริหารงานตามหลักกัลยาณมิตรธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านชัย อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 3(2), 79 – 97.

พระสมุห์ยุทธนา อนุทโย (กรใหม่). (2561). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะกัลยาณมิตร สำหรับผู้บริหารโรงเรียนประประถมศึกษา จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพศาล วรคำ. (2561). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

รัชพล เสิบกลิ่น. (2566). แนวทางการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 11(3), 89-110.

รัตนติกา ยากระโทก. (2567). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. วารสารเสียงธรรมจากมหายาน, 11(1), 101-115.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. (2567). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 : นครราชสีมา.

อภิวัฒน์ ชัยเสน. (2565). ภาวะผู้นําเชิงพุทธตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วารสารสังคมศาสตร์บููรณาการ, 3(8), 61-76.

อุทัย ซังซั่ว. (2557). คุณธรรมของผู้บริหารการศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 10 พฤษภาคม 2567. จาก :http://www.sobkroo.com/detail_room_main1.php?nid=2957.

Bass.B.M.andAvolio B.J. (1990). Transformational Leadership Development. Califormia : Consulting Psychologists Press.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities Educational and Psychological Measurement, 30(3),607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-28