การพัฒนาห้องเรียนเสมือนจริง ด้วยเทคโนโลยี Metaverse Spatial เรื่อง กฎหมายคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนชุมชนศรีสะอาด (เทศบาล 1) อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • จตุพงษ์ กะวิวังสกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • อมิตา ศรีเชียงสา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

ห้องเรียนเสมือนจริง, เมตาเวิร์ส, กฎหมายคอมพิวเตอร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาห้องเรียนเสมือนจริงด้วยเทคโนโลยี Metaverse Spatial เรื่องกฎหมายคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนชุมชนศรีสะอาด (เทศบาล 1) เพื่อให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยห้องเรียนเสมือนจริง และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยห้องเรียนเสมือนจริง กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 18 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) สื่อห้องเรียนเสมือนจริงด้วยเทคโนโลยี Metaverse Spatial เรื่องกฎหมายคอมพิวเตอร์ 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ห้องเรียนเสมือนจริงที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 83.66/85.55 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยห้องเรียนเสมือนจริง (  =8.55) สูงกว่าก่อนเรียน (  =5.94) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยห้องเรียนเสมือนจริงโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.43, S.D. = 0.35) โดยด้านการออกแบบได้รับความพึงพอใจสูงสุด ( =4.46) รองลงมาคือด้านการตกแต่ง ( =4.45) ด้านการใช้งาน ( =4.43) และด้านเนื้อหา ( = 4.39) ตามลำดับ

References

ณัฐดนัย วันตะโพธิ์และคณะ. (2567). การจัดการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัยโดยใช้แนวคิดแบบสมองเป็นฐาน ร่วมกับ Metaverseของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโคกสีพิทยาสรรพ์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. Journal of Buddhist Education and Research, 10(2), 67-80.

ธนิดา หนูแป้น. (2562). การสร้างห้องเรียนเสมือนจริงสำหรับการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก เรื่องการใช้ Microsoft Excel เพื่อการคํานวณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ธนดล นิสัยมั่นและชมนาด กิจขันธ์. (2567). การประยุกต์เทคโนโลยี Spatial Metaverse ใน รายวิชานาฏศิลป์เรื่อง วิวัฒนาการละครไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6โรงเรียนกวงฮั้ว จังหวัดระยอง ปีการศึกษา 2566. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 19(2), 55-69.

พรหมวงศ์ ชัยยงค์. (2537). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-19

โรงเรียนชุมชนศรีสะอาด. (2567). ข้อมูลพื้นฐาน. เรียกใช้เมื่อ 15 ตุลาคม 2567 จาก https://www.loeicity.go.th/public/person/data/chart/structure_id.

สุรพล บุญลือ. (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ห้องเรียนเสมือนจริงแบบใช้ปัญหาเป็นหลักในระดับอุดมศึกษา. วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ, 6(1), 77-93.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-14