การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7
คำสำคัญ:
การบริหาร, การบริหารงานวิชาการ, ประถมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 จำแนกตามตำแหน่ง และขนาดของสถานศึกษา 2) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 333 คน โดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80–1.00 และได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามมีค่าเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าเอฟ
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบบุคลากรเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 จำแนกตามตำแหน่ง และขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เน้นการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากร การพัฒนาเครื่องมือการวัดผลที่มีมาตรฐาน การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การใช้เทคโนโลยีและสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย และการส่งเสริมกิจกรรมที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของนักเรียน โดยมีการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชนในการพัฒนาระบบการศึกษาภายในโรงเรียน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). คู่มือการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.
โชคชัย ฟักโต. (2563). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลกลุ่มโรงเรียนหวายเหนียว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 2. กาญจนบุรี : สำนักพิมพ์วิจัยการศึกษา.
นากร ชมเชย. (2567). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยชุมพร.
นารี ปราถนาม. (2566). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
นิยม คลังแสง. (2561). การบริหารสถานศึกษา : แนวทางและกระบวนการสู่ความสำเร็จ. ขอนแก่น : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรทิพย์ นึกอุ่นจิตร. (2560). ระดับปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
เรืองศักดิ์ ปัดถาวะโร. (2560). สภาพปัญหาการบริหารหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยอุดรธานี.
วิศิษฐ์ ชาญสุข. (2561). สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมกิต บุญยะโพธิ์. (2547). การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์การศึกษาไทย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 7. (2566). การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 7. นครราชสีมา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 7.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2555-2559). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2558). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
Fitzpatrick, J. (2018). Collaboration between schools and communities: Enhancing school education and improving learning outcomes. Journal of Educational Development, 45(3), 123-135
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Lema, M. (2019). Promoting teacher research for educational quality improvement: Enhancing teaching and building networks of knowledge and innovation. Journal of Educational Research and Practice, 25(2), 45-60.