สภาพและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1

ผู้แต่ง

  • พรรณี เชื้อคำลือ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ธารารัตน์ มาลัยเถาว์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 จำแนกตามคุณวุฒิการศึกษาประสบการณ์การทำงานและขนาดของสถานศึกษา และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 เป็นการวิจัยผสมผสาน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 จำนวน 269 คน โดยใช้สูตรตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สถิติที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

             ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 อยู่ในระดับมาก 2) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณืการทำงานและขนาดของสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีอุดมการณ์และวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านคุณธรรมและจริยธรรม มีความโปร่งใส และสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้อื่น โดยส่งเสริมความต้องการในการเรียนรู้และพัฒนาความรู้รวมถึงประสบการณ์ของครู พร้อมทั้งคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างเหมาะสม

References

กรรณิกา บุญช่วย. (2561). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดตราด จันทบุรี และระยอง. ใน วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี.

ธีระศักดิ์ สารสมัคร. (2563). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษา 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5 “การวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Research to Make A CHANGE)” (หน้า 348 - 358). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

นนทกร อรุณโน. (2559), การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

เบญจวรรณ ปันแก้ว. (2566). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงราย. การค้นคว้าอิสระ กศ.ม., มหาวิทยาลัยพะเยา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวิริยาสาสน์.

พนิดา อินทรเหมือน. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13.

พระมหาอำพล ชัยสารีและคณะ. (2565). ภาวะผู้นำทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับความเชื่อมั่นในตนเอง. เรียกใช้ เมื่อ 15 ตุลาคม 2567 จาก https://so06.tcithaijo.

รัตติกา รวดเร็วและ อุไรสุทธิแย้ม. (2565). ภาวะผู้นําทางวิชาการในยุคพลิกผันของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1. (2567). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2567. เรียกใช้เมื่อ 10 มิถุนายน 2567 จาก www.Ipg1.go.th.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). นโยบายของสำนักงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570), สำนักนายกรัฐมนตรี.

สินีนาฏ จิระพรพาณิชย์. (2563). ภาวะผู้นําการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในยุคดิจิทัลตามความคิดเห็นของครูในเขตอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นํา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.9(33),256-262.

สิทธิชัย สอนสุภี. (2564). องค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. รายงานการประชุมวิชาการ บัณฑิตศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 22. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อังกูร เถาวัลย์. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

อาวัชนนท์ อิ่มเพ็ง. (2566). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครพนม เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Bass, B.M.and Avolio,B.J.(1994). Imploring Organizational Effectiveness Through Transformational Leadership. Newbrery Park. CA : sage.

Krejcic, and Morgan. (1970). Determining Size for Research Activities, Educational Psychological Measurement. 30 (3) : 608-609.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-14