ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักร 4MAT ที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาการคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักร 4MAT, ทักษะการคิดวิเคราะห์, ความพึงพอใจจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักร 4MAT, รายวิชาวิทยาการคำนวณบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาการคำนวณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักร 4MAT และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักร 4MAT กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนโรงเรียนอนุบาลเมืองสิงห์บุรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักร 4MAT รายวิชาวิทยาการคำนวณ ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 12 แผน 2) แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาการคำนวณ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักร 4MAT วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบวิลคอกซัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการคิดวิเคราะห์รายวิชาวิทยาการคำนวณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักร 4MAT สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักร 4MAT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 และ 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักร 4MAT อยู่ในระดับมาก
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.
ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพมณี มีทอง. (2551). ผลการใช้วิธีการสอนแบบ 4 MAT เพื่อพัฒนาการอ่านคิดวิเคราะห์วรรณคดี และวรรณกรรมไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
พนิน ศรีนวลแก้ว. (2560). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.
โรงเรียนอนุบาลเมืองสิงห์บุรี. (2563). ผลพัฒนาการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ คิดวิจารณ์ การประเมินคุณค่า. สิงห์บุรี: โรงเรียนอนุบาลเมืองสิงห์บุรี.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ม.ป.ท.
สุวรรณี แสงอาทิตย์, ธัญพร ชื่นกลิ่น และ ชุติมา เทียนชัยทัศน์. (2559). ผลการสอนแบบ 4MAT ต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, JOURNAL OF HEALTH SCIENCE RESEARCH, 10(2), 82-91.
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี และไพเราะ พุ่มมั่น. (2543). วัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT การจัดกระบวนการการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะ เก่ง ดี มีสุข. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: เอสอาร์ พริ้นติ้ง.
McCarthy Bernice. (1990). 4 MAT in the Action II: Sample Lesson Plans for use with the 4 MAT System. Barrington, Excel. Inc.
Willian, G.H., (2000). Using the 4MAT system to design web-based instruction. Retrieved 3 October 2021, from http;//www.edpuscinteractive.org/papers/papers/4matonweb.doc.