การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะรู้ดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21, รูปแบบการจัดการเรียนรู้, การพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะรู้ดิจิทัลในศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะรู้ดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา 2) เพื่อยืนยันองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะรู้ดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา 3) เพื่อร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะรู้ดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาและ 4) เพื่อประเมินรับรอง และนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะรู้ดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู 940 คน เครื่องมือที่ใช้ 1) แบบสอบถาม มีความเชื่อมั่น .99 2) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 3) แบบประเมินและรับรองรูปแบบ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ประกอบเชิงยืนยันใช้การสังเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา สำหรับข้อมูลเชิง ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะรู้ดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก 17 องค์ประกอบย่อย โดยมี 6 องค์ประกอบหลัก คือ (1) การเข้าถึง (2) การเข้าใจ (3) การใช้สื่อดิจิทัล(4) การตระหนักรู้ดิจิทัล (5) การสื่อสาร และ (6) การสร้างสรรค์ 2) รูปแบบองค์ประกอบมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก 3)รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะรู้ดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา เป็นรูปแบบที่มีชื่อว่า “รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะรู้ดิจิทัล” และ 4) ผลการประเมินและรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะรู้ดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา ในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้
References
กิตติ ลออกุล. (2562).การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลที่ใช้เทคนิค ระดมสมองด้วยการออกแบบ อินโฟกราฟิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี และสื่อสารการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). สถิติชวนใช้. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นวพัฒน์ เก็มกาแมน. (2563). แนวทางการพัฒนาการรู้ดิจิทัลสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น
วราพินทร์ ชาววิวัฒน์. (2565). แนวทางการส่งเสริมทักษะดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลก เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2564). พลังครูไทยวิถีใหม่ฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล หนังสือวันครู 16 มกราคม 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2564). พลังครูไทยวิถีใหม่ฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล.หนังสือวันครู.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2564). แนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของ ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล. เรียกใช้เมื่อ 25 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.ocsc.go.th/sites/default.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 -2579 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
American Library Association. (2013). Digital Literacy, Libraries, and Public Policy. Date to Accessed 2 December 2020. from http://www.districtdispatch.org/ wp-content/uploads/2013/01/2012
Hague, C. & Payton, S. (2014). Digital literacy across the curriculum. Bristol: Future lab. International Society for Technology in Education: Advancing Digital Age Learning. Iste.org.
Jun, F., & Pow, J. (2011). Fostering Digital Literacy through Web-Based Collaborative Inquiry Learning-A Case Study. Journal of Information technology Education, 10.
Techataweewan, W.,& Prasertsin, U. (2016). Development of digital literacy test for undergraduate students. Bangkok: Department of Library and Information Science, Faculty of Humanities, Srinakharinwirot University
UNESCO. (2018). Global Education Monitoring Report: Literacy for Life. Retrieved June 10, 2016, from http://unesdoc.unesco.org/ images/ 0014/001416/141639e.pdf