แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำใฝ่บริการ, แนวทาง, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 2) เพื่อออกแบบแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา 3) เพื่อประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 จำนวน 331 คน เลือกโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป ระยะที่ 2 การออกแบบแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์เนื้อหาที่ได้ด้วยวิธีการสามเส้า ระยะที่ 3 การประเมินแนวทาง ใช้เครื่องมือเป็นแบบประเมินแนวทาง ตามแนวคิดของกัสกีย์ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นไปได้
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อยคือ ด้านการมองการณ์ไกล ด้านการสร้างชุมชน ด้านการพัฒนาบุคคล ด้านการสร้างมโนทัศน์ ด้านการเข้าใจผู้อื่น ด้านการโน้มน้าวใจ ด้านการรับฟัง และ ด้านการตระหนักรู้ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ รวมทั้งสิ้น 31 แนวทาง 3) ผลการประเมินแนวทางการ พบว่า ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
References
ณภัทร อามาตย์เสนา. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
ณัฏฐา ปัทมานุสรณ์. (2564). ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. ใน ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
วรัญญา ยินดี. (2565). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคนิวนอร์มัล. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(4), 246-259.
ศิรินทิพย์ เพ็งสง. (2563). ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2565). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์: Research methodology in behavioral sciences and social sciences. (พิมพ์ครั้งที่ 8). อุดรธานี: อักษรศิลป์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานีเขต 1. (2566). แผนพัฒนาการศึกษา (2566-2570) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต1. เรียกใช้เมื่อ 15 สิงหาคม 2567 จาก https://udn1.go.th/o7-strategyplan.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Greenleaf, R. K. (2002). The Servant leadership: A journey into the nature of legitimate power and greatness. New York: Paulist Press.
Lambert, W. E. (2004). Servant leadership qualities of principals, organizational climates, and student achievement. Ph.D. Dissertation, Nova Southeastern, University, Florida, USA
Spear, L. C. & Lawrence, M. E. (2002). Focus on leadership: Servant-leadership for the twenty-first century. New York, NY: John Wiley & Sons.