การบริหารงานวิชาการตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการทำงานของครู สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การบริหารงานวิชาการ, หลักกัลยาณมิตรธรรม 7, ผู้บริหารสถานศึกษา, ประสิทธิผลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลในการทำงานของครู สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 กับประสิทธิผลในการทำงานของครู 4) เพื่อศึกษาตัวแปรพยากรณ์การบริหารงานวิชาการตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการทำงานของครู ประชากร ได้แก่ ครูผู้สอนซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 217 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ และสถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารสถานศึกษาตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวม อยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลในการทำงานของครู สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลในการทำงานของครู สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกระดับสูง .808 และรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ 4) ตัวแปรพยากรณ์การบริหารงานวิชาการตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 7 ด้าน โดยใช้การวิเคราะห์สถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า ด้านโน จัฏฐาเน นิโยชเย การบริหารงานวิชาการโดยใช้หลักมีความเป็นผู้นำ และด้านภาวนีโย การบริหารงานวิชาการโดยใช้หลักเป็นผู้มีความรู้ สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลในการทำงานของครู
References
เกชา มีสวน. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารและประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมตากสินระยอง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2566). ภาวะผู้นำคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานการเรียนรู้สังคมศึกษา. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ไดมอนด์ กราฟิก กรุ๊ป.
ทิพวัลย์ ชาลีเครือ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดระยอง. ใน วิทยานิพนธการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
นารีรัตน์ กว้างขวาง. (2561). การบริหารงานโรงเรียนโดยใช้หลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสนามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
นิรมล รอดไพ และวรกฤต เถื่อนช้าง. (2564). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร. วารสารวิจัยวิชาการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยวิทยาเขตนครสวรรค์.
ปัทมา มีพรหมดี. (2562). การศึกษาความสัมพันธ์พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารที่มีต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
ปิยะดา ก่อวุฒิกุลรังสี. (2561). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำผู้บริหารตามหลักกัลยาณมิตรธรรมโรงเรียน ป้อมนาคราชสวาทยานนท์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิสณุ ฟองศรี. (2550). วิจัยในชั้นเรียน หลักการและเทคนิคปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพมหานคร : พรอพเพอตี้พรินท์.
ภัณฑิรา ธิตะปัน. (2564). การบริหารตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา จังหวัดขอนแก่น. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มยุรี สนิทกุล. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
มูนา จารง. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะครูผู้สอนในศูนย์เครือข่ายตลิ่งชัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. สาขาวิชาการบริหาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาสาขาวิชาการบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช. (2562). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2562 สพม.12.