การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อประชาชนขององค์การบริหารส่วน ตำบลโนนสูง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
การพัฒนา, โครงสร้างพื้นฐาน, องค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนสูง 2) เปรียบเทียบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อประชาชนในการให้บริการต่อประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนสูง ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) เพื่อให้ข้อเสนอแนวทางในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสูง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสูง จำนวน 386 คน ด้วยการใช้สูตรของ Yamane เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูล ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติค่าที (t-test) และใช้สถิติเอฟ (f-test)
ผลการวิจัยพบว่า
- การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนสูง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.78) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การให้บริการด้านทางระบายน้ำ (= 4.00) รองลงมา คือ การให้บริการด้านประปา (= 3.90) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การให้บริการด้านถนน (= 3.40)
- การเปรียบเทียบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนสูง ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวมประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนสูง แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ และอาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนสูง ไม่แตกต่างกัน
- ข้อเสนอแนวทางในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสูง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ สำรวจสภาพถนนในพื้นที่ตำบลโนนสูง เช่น สภาพผิวถนน การคมนาคม การเกิดอุบัติเหตุจราจร หรือปัญหาจากการใช้งานจริง
References
จักรพันธ์ สมบูรณ์ธรรม และบุญเหลือ บุบผามาลา. (2564). การให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานของ เทศบาลตำบลโนนทอง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี. คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
ณัฏฐ์ชนนจ์ ภูจอมจิตร. (2564). ประสิทธิผลการให้บริการประชาชนด้านโครงสร้างพื้นฐานของ องค์การ บริหารส่วนตำบลพยอม อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2546). การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วย Amos. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 111 ตอนที่ 11. ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญ ทัศน์. หน้า 577.
วันเฉลิม วรรณไชย และโกศล สอดส่อง. (2565). การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานต่อประชาชน ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาทับไฮ อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย. คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสูง. (2568). สภาพและข้อมูลพื้นฐานตำบลค้อใหญ่. อำเภอเมืองอุดรธานี อุดรธานี องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสูง.
อิทธิพัทธ์ จันทร์สาคร. (2565). การศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อระบบสาธารณูปโภค ภายในอาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Taro Yamane(1973 ).Statistics: An Introductory Analysis.3rdEd.New York.Harper and RowPublications.