ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล กลุ่มเครือข่ายคุณภาพ การศึกษาเมืองฟ้า สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1

ผู้แต่ง

  • สมใจ ภูมิแสน มหาวิทยาลัยราชธานี
  • สุรางคนา มัณยานนท์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • ไพฑูรย์ มีกุศล มหาวิทยาลัยราชธานี

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ยุคดิจิทัล, ผู้บริหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล กลุ่มเครือข่ายคุณภาพการศึกษาเมืองฟ้า สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 และ 2) ศึกษาการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล กลุ่มเครือข่ายคุณภาพการศึกษาเมืองฟ้า สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 ครั้งนี้ศึกษาประชากรทั้งหมด ได้แก่ ครูในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายคุณภาพการศึกษาเมืองฟ้า สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 ปีการศึกษา 2567 ครูผู้สอนจำนวน 112 คน ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 112 คน คิดเป็น 100% เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามจำนวน 33 ข้อ มาตราส่วนประมาณค่า และมีข้อคำถามปลายเปิดจำนวน 1 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหาความถี่ และร้อยละ

ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล ที่สำคัญดังนี้ 1) ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ดิจิทัล ผู้บริหารควรกำหนดเป้าหมายทางวิชาการที่ชัดเจน เพื่อให้ครูสามารถนำไปปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน 2) ด้านการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ผู้บริหารควรจัดจุดบริการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้เพียงพอต่อการใช้งานของนักเรียน และควรมีการสร้างฐานข้อมูลของสถานศึกษาไว้ในระบบเพื่อง่ายต่อการจัดเก็บและสืบค้นง่าย และเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้เทคโนโลยี 3) ด้านการเป็นผู้นำดิจิทัล ผู้บริหารควรมีทักษะการใช้เทคโนโลยีเบื้องต้นเพื่อสะดวกต่อการทำงาน และ 4) ด้านการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ผู้บริหารควรสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์เทคโนโลยีให้กับครู เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน และควรมีการสังเกต ติดตามประเมินผลการใช้สื่อเทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน

References

ชัญญาภัค ใยดี. (2561). การศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีของผู้บริหาร. สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์.

ชินวัตร เจริญนิตย์. (2564). การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา. วารสารบริหารการศึกษามหาบัณฑิต.

ทินกร คำศิริ. (2563). ภาวะผู้นำการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต่อการบริหารงานของผู้บริหารกลุ่มโป่งไฮ-น้ำจั้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารการบริหารนิติบุคลและนวัตกรรมท้องถิ่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 9). สุวีริยาสาส์น.

ปานหทัย ปลงใจ และ กัลป์ยมน อินทุสุต. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(5), 168–182.

พัฒนพร ศิลาวงษ์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พรรษรัตน์ พรมมินทร์ และ ปรีชา วิหคโต. (สิงหาคม 2563). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 จังหวัดลพบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(8), 36-53.

พิชญ์พิมล สุนทะวงศ์. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิทักษ์ พันธุวาปี. (2562). ภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์เขต 3. ใน การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

รอมือละ ทิพย์ร่วง. (2566) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุควิถีชีวิตใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2. ใน สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ยศกร เรืองไพศาล. (2562). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้อำนวยการโรงเรียนที่ส่งผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนกลุ่มห้างสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศศิตา เพลินจิต. (2558). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1.ใน การค้นคว้าอิสระครุศาสตร์มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

วัยวุฒิ บุญลอย. (2564). นิวนอร์มัลในการพัฒนาเด็กตามพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562. จันทรเกษมสาร, 27(1), 38–59.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธรเขต 1. (2566). ข้อมูลพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธรเขต 1. เรียกใช้เมื่อ 15 ธันวาคม 2567 จาก https://www.yst1.go.th/2022/.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธรเขต 1. (2567). ข้อมูลพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธรเขต 1. เรียกใช้เมื่อ 17 ธันวาคม 2567 จาก https://www.yst1.go.th/2022/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-28