แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี
คำสำคัญ:
แนวทาง, การพัฒนา, ภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) หาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี โดยใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมผสานวิธี ออกแบบการวิจัยในรูปแบบเชิงอธิบายเป็นลำดับ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยเป็น
2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูผู้สอน จำนวน 332 คนโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานระยะที่ 2 หาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูลมาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 15 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการจัดการความขัดแย้ง 2) ด้านการมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 3) ด้านการสร้างความไว้วางใจ 4) ด้านการมีความสามารถในการสื่อสาร และ 5) ด้านการมีความเห็นอกเห็นใจในการปฏิบัติงาน และ 2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา มี 20 แนวทาง ประกอบด้วย 1) ด้านการจัดการความขัดแย้ง มี 5 แนวทาง 2) ด้านการมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มี 3 แนวทาง 3) ด้านการสร้างความไว้วางใจ มี 4 แนวทาง 4) ด้านการมีความสามารถในการสื่อสาร มี 4 แนวทาง และ 5) ด้านการมีความเห็นอกเห็นใจในการปฏิบัติงาน มี 4 แนวทาง โดยได้รับการยืนยันว่าใช้ได้ทุกแนวทาง
References
กนก ขวัญเรือน. (2560). ความไว้วางใจหัวหน้างานการรับรู้ลักษณะภาวะผู้นำตามแนวคิดตาข่ายบริหารงาน ผลการปฏิบัติงานของพนักงานให้บริการทางโทรศัพท์ โดยมีการสื่อสารในองค์การเป็นตัวแปรสื่อ: กรณีศึกษาบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กีรติ การเกษ. (2566). ภาวะผู้นําของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี.วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 9(2), 82-91.
จิราภรณ์ ลอยขจร. (2565). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประชารัฐ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. วารสารสิรินธรปริทรรศน วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 23(2), 172-185.
ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานการเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ดอกหญ้า.
ณัฐชญา ปวงคำคง. (2560). ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน พื้นที่พิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2. ใน การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เตือนใจ คล้ายแก้ว. (2560). แนวทางการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในจังหวัดพิจิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ทับทิม เป็งมล. (2564). กระบวนการสืบทอดวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ดำ ในกลุ่มเด็กและเยาวชน พื้นที่การท่องเที่ยวชุมชนบ้านจ่าโบ่ อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน.
ปทิตตา เตจะวัน. (2567). วารพัฒนาเครื่องมือวัดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของครูระดับขั้นพื้นฐานของประเทศไทย. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์, 9(2), 549-562.
พัชราภรณ์ จันทรโคตร. (2561). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล. วารสารแสงอีสาน, 15(2), 12–25.
พันธกานต์ ทรงบุญรอด. (2565). ภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพื้นที่พิเศษ จังหวัดตาก. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
รัชนี จอมศรี. (2565). แนวทางการพัฒนาการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจของผู้บริหาร สถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 9. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
รัตติยา บุญยิ้ม. (2562). การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือ. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 7(3), 361-376.
วรพงษ์ วรรณราม. (2562). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียมัธยมศึกษา การวิจัยผสมผสานวิธี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศรัณย์ ศุภรณ์พานิช. (2564). แนวทางการพัฒนาการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1กลุ่ม 6. วารสารร้อยแก่นสาร, 6(12), 70-84.
สมุทร ชำนาญ. (2556). ภาวะผู้นำทางการศึกษา ทฤษฎี และปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ระยอง: พี เอส การพิมพ์.
สุกัญญา ศรีแก้ว. (2563). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียน มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขึ้นพื้นฐานพ.ศ.2566–2570. เรียกใช้เมื่อ 16 ตุลาคม 2567 จากhttps://web.udonpeo.go.th/?wpdmpro.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). รายงานการวิจัยแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพรอมศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
Krejcie, R. & Morgan, D. 1970. Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.