ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานีอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • ขวัญฤดี วงค์เย็น มหาวิทยาลัยราชธานี
  • สุรางคนา มัณยานนท์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • ฐิติมา โกศัลวิตร มหาวิทยาลัยราชธานี

คำสำคัญ:

ทักษะการบริหาร, ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล, การบริหารงานวิชาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี และอำนาจเจริญ 2) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัด 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารกับการบริหารงานวิชาการ และ 4) เพื่อพยากรณ์การบริหารงานวิชาการจากทักษะการบริหารในยุคดิจิทัล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 114 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ด้าน รวม 27 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น .95 และค่าอำนาจจำแนก .96

 ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการบริหารของผู้บริหารในยุคดิจิทัลอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ทักษะการบริหารของผู้บริหารมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบริหารงานวิชาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 r = .826 ถึง .936 และ 4) ทักษะด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยี (X4), ทักษะความรู้ดิจิทัล (X2) และทักษะการสื่อสารดิจิทัล (X5) สามารถพยากรณ์การบริหารงานวิชาการได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยแบบมาตรฐาน (β) เท่ากับ .485, .361 และ .235 ตามลำดับ ค่าสหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .91 อธิบายความแปรปรวนของการบริหารงานวิชาการได้ร้อยละ 83

References

กัญญาภัค จูฑพลกุลและ ทัศนะ ศรีปัตตา. (2565). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(10), 271-284.

กุลจิรา คำมูล. (2561). การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารบัณฑิตศึกษา, 15(68), 122-A.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ. (2566). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ. (2567). ข้อมูลสารสนเทศ ปีการศึกษา 2567. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561- 2580 (ฉบับย่อ). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสาวภา พรเสนาะ. (2556). การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามความ คิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรำไพพรรณี.

Dubrin, J. A. (2010). Principle of Leadership. (6thed.). Southern Western, Cengage Learning.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-28