คุณภาพการบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
คุณภาพการบริการ, บุคลากร, สำนักงานอัยการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณภาพการบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี 2) เปรียบเทียบระดับคุณภาพการบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) เพื่อให้ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนผู้มาติดต่อขอรับบริการ จำนวน 304 คน ด้วยการใช้สูตรของ Yamane เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติค่า และใช้สถิติเอฟ
ผลการวิจัยพบว่า 1 คุณภาพการบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.76) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (= 4.08) รองลงมา คือ ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ ( = 3.96) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการบริหารจัดการ (= 3.40)
- ผลการเปรียบเทียบระดับคุณภาพการบริการ พบว่า โดยภาพรวมประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับ แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริการ ไม่แตกต่างกัน
- ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี ได้แก่ จัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะทั้งทางด้านกฎหมายและทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากร
References
กษมณี เอี่ยมหน่อ และพัชราภา สิงห์ธนสาร. (2567). คุณภาพคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครสวรรค์. คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
กัญญาภัค ศรีอุดร และชาญยุทธ หาญชนะ. (2566). การบริหารปัญหาการร้องเรียนของประชาชนของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู. คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
ณัฏฐ์ปาลิกา กณิศาเตชสิทธิ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการบริการของสำนักงานอัยการจังหวัดชลบุรี.คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พรไพรินทร์ พฤฒิรัตน์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพคุณภาพการบริการของสานักงานอัยการ คุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครราชสีมา. ภาคนิพนธมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
มยุรี ขะพินิจ และชาญยุทธ หาญชนะ. (2565). คุณภาพคุณภาพการบริการของศาลจังหวัดหนองบัวลำภู.คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
วณิชย์ ไชยแสง. (2566). คุณภาพคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครสวรรค์.คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ศักชัย บัวทองจันทร์และ ชาญยุทธ หาญชนะ. (2565). คุณภาพคุณภาพการบริการตามบทบาทหน้าที่ของศูนย์ดำรงธรรมอําเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร.คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี. (2568). ข้อมูลพื้นฐานสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิ. สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดขอนแก่น.
สุนิสา วรรณภักดี และบุญเหลือ บุบผามาลา. (2565). คุณภาพคุณภาพการบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดหนองบัวลำภู. คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
สุดาวรรณ นิยมวัน และนฤมล อนุสนธิ์พัฒน์. (2566). แนวทางการพัฒนาคุณภาพคุณภาพการบริการประชาชนด้านงานคดีอาญาของสำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper. & Row.