การบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษา กลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ผู้บริหารสถานศึกษา, การบริหารสถานศึกษา, องค์การสมรรถนะสูงบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษา และ2) เปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในสังกัดกรุงเทพมหานครได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างรายคู่ LSD
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ โครงสร้างองค์การ การให้ความสำคัญกับผู้เรียน การมุ่งเน้นบุคลากร การบริหารจัดการองค์การ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการนำองค์การ และ2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า จำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน ในภาพรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามขนาดสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ยกเว้นด้านการมุ่งเน้นบุคลากร
References
กฤษณา ศรีบุญเพ็ง. (2565). การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ เครือข่ายกรุงเทพมหานคร. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(9), 1-14.
กิตติเมธ จริตงาม, อรรครา ธรรมาธิกุล, วีระยุทธ ชาตะกาญจน์, ปราโมทย์ พรหมนิล. (2568). ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1. วารสารพุทธศาสน์ศึกษาและการวิจัย, 11(2), 42–55.
ดวงเดือน ศิริโท และ สมานจิต ภิรมย์รื่น. (2561). การพัฒนาทุนมนุษย์ตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งเสริมประสิทธิผล โรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(2), 58-67
ธันวา วาทิตต์พันธ์. (2564). องค์ประกอบของโรงเรียนมัธยมศึกษาสมรรถนะสูง. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นพพล ศุภวิทยาเจริญกุล. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2562). ระเบียบวิธีการวิจัย (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
วิรัลพัชร นันทินบัณฑิต. (2563). การพัฒนาทุนมนุษย์ของโรงเรียนสังกัดเทศบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2564 – 2569). กรุงเทพมหานคร: วันไฟน์เดย์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2563). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสู่องค์กรสมรรถนะสูง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
อรุณี อินทร์แก้ว. (2563). การบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงของโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Buytendijk, F. (2006). The five keys to building a high-performance. Organization Business Performance Organization, 4(1), 24-30.
De Waal, A. A. (2007). The characteristics of high-performance organization. Business Strategy Series, 8(3), 179-185.
Guskey, T. R. (2021). Professional development impact on high-performing schools: A longitudinal study of teacher effectiveness. University of Kentucky Press.
Hanushek, E. A. (2019). The impact of teacher education levels on student achievement in high-performing schools: A quantitative analysis of national data. Stanford University Press.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), p. 607 – 610.
Marc, Tucker. (2019). Leading High-Performance School System. Virginia USA: Alexandria.
Uma Bin Man. (2018). Identifying Critical Success Factors for Schools Improvement among Excellent Principals in High Performing Schools in Malaysia: A Case Study. Thesis Doctor of philosophy, Institute of educational leadership. University of Malaya Kuala Lumpur, 233.