สมรรถนะการบริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่าย CEO วังหิน 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1

ผู้แต่ง

  • มนลัดดา สีบุญเรือง มหาวิทยาลัยราชธานี
  • สุรางคนา มัณยานนท์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • สมหมาย สร้อยนาคพงษ์ มหาวิทยาลัยราชธานี

คำสำคัญ:

สมรรถนะการบริหารสถานศึกษา, สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา, กลุ่มเครือข่าย CEO วังหิน 1

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่าย CEO วังหิน 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในกลุ่มเครือข่าย CEO วังหิน1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 151 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .90 - .95 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .67-.100 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่าย CEO วังหิน 1  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1  โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่ามี (1) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ผู้บริหารควรปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ผลงานตามเป้าหมายและมาตรฐานที่องค์กรกำหนดไว้อย่างดีที่สุด (2) ด้านการบริการที่ดี ผู้บริหารควรให้การช่วยเหลืองานแก่ผู้มาติดต่องาน ทั้งบุคลากรภายในและภายนอก (3) ด้านการพัฒนา ผู้บริหารควรศึกษาหาความรู้จากแหล่งความรู้ตลอดเวลา เพื่อนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาตนเองและบุคลากรให้ดียิ่งขึ้น (4) ด้านการทำงานเป็นทีม ผู้บริหารควรควรจัดให้มีการพูดคุยทำความเข้าใจก่อนที่จะแบ่งหน้าที่กันทำงานเพื่อจะได้แบ่งหน้าที่ตามความสามารถของบุคคล (5) ด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ผู้บริหารควรแก้ปัญหาและพัฒนางานรวมทั้งสามารถวิเคราะห์องค์กรหรืองานในภาพรวมได้ (6) ด้านการสื่อสารและการจูงใจ ผู้บริหารควรเปิดใจในการสื่อสาร ให้เกียรติผู้ฟังเสมอถ่ายทอดด้วยความจริงใจ (7) ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ผู้บริหารควรช่วยแก้ปัญหาที่เจอและให้คำแนะนำที่ดี (8) ด้านการมีวิสัยทัศน์ ผู้บริหารควรมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมายที่ชัดเจน รักสถาบัน สร้างแรงบันดาลใจให้บุคลากรได้ด้วยทัศนวิสัยของผู้นำที่ดี

References

กิตติชัย เทียนไข. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 ลพบุรี. วารสารพัฒนาทักษะทางวิชาการอย่างยั่งยืน, 2(2), 49-60.

จตุรภัทร ประทุม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(2), 212-224.

ณิชาภา ปรือทอง และสุทธิพร บุญส่ง. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะผู้บริหารกับการนำองค์กรของสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ในพระบรมชูปถัมภ์, 10(3), 36-46.

ทรงวุฒิ ทาระสา. (2549). การทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต5, วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี,7(4), 245-263.

ธัญยธรณ์ ศรีเสาวลักษณ์ (2555).สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1, วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(1), 89-102.

ประสิทธิ์ ชุมศรี (2555). การประเมินสมรรถนะที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานของผู้บริหารของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตที่นที่การศึกษาประวรมศึกษาสุราษฎร์รานี เขต 2, วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 8(2), 328-341.

ปาริฉัตร ช่อชิต. (2559). สมรรถนะผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต:มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์. (2546). การบริหารการศึกษาในทศวรรษหน้า. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชามญชุ์ ลาวชัย. (2562). สมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. ในวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัทธนันท์ โมครัตน์. (2558). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต27. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 11(2),121-132.

พัชนียา ราชวงษ์ และอำนวย ทอง โปร่ง. (2565). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปกติใหม่ (New Normal) ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สระบุรี เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(6), 47-65.

มุทิตา ไหลหรั่ง. (2557). สมรรถนะด้านการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญของผู้บริหารกรณีศึกษาโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. วารสารจรอุบลปริทรรศน์มหาวิทยาลัยราชธานี, 7(3), 583-593.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). กฏหมายและหนังสือเวียนของ ก.ค.ศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุทธิศักดิ์ อ่อนตะวัน. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารกับความสุขของครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. ในวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 .(2567). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2567 - 2570) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. เรียกใช้เมื่อ 15 ตุลาคม 2567 จาก http://news.sisaketedu1.go.th.

อนุชา เพ็งสุวรรณ (2549) ได้ศึกษา ความต้องการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนา สมรรถนะของข้าราชการพลเรือน, วารสารการจัดการยุคใหม่ มหาวิทยาลัยชินวัตร, 1(2), 39-59.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-28