แนวทางการส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์ตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษากับชุมชน ในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายการศึกษา สมเด็จเจ้าพะโคะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสงขลา เขต 1

ผู้แต่ง

  • สานนท์ แก้วจันทร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • สันติ อุนจะนำ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

มนุษยสัมพันธ์, หลักสาราณียธรรม 6, มนุษยสัมพันธ์ตามหลักสาราณียธรรม 6

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพมนุษยสัมพันธ์ตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษากับชุมชน ในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายการศึกษาสมเด็จ          เจ้าพะโคะ 2) เพื่อร่างแนวทางการส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์ตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษากับชุมชน ในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายการศึกษาสมเด็จเจ้าพะโคะ และ 3) เพื่อประเมินแนวทางการส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์ตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษากับชุมชน ในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายการศึกษาสมเด็จเจ้าพะโคะ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายการศึกษาสมเด็จเจ้าพะโคะ จำนวน 118 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี และมอร์แกน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน และ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงพรรณนา

  ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพมนุษยสัมพันธ์ตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษากับชุมชน ในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายการศึกษาสมเด็จเจ้าพะโคะ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์ตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษากับชุมชน ในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายการศึกษาสมเด็จเจ้าพะโคะ ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเข้าใจตนเองตามหลักสาราณียธรรม 6, ด้านการเข้าใจคนอื่นตามหลัก     สาราณียธรรม 6 และ ด้านการเข้าใจสิ่งแวดล้อมตามหลักสาราณียธรรม 6 และ 3) ระดับความเหมาะสมของแนวทางการส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์ตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษากับชุมชน ในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายการศึกษาสมเด็จเจ้าพะโคะ มีคะแนนความเหมาะสม คิดเป็น ร้อยละ 97.77

References

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2564). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร: อมรการพิมพ์.

ธนานนท์ แสงทองทาบ. (2564). การสร้างมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารกับชุมชน ตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นพดล เจนอักษร พระมหาไกรวรรณ์ ปุณขันธ์ (ชินทตฺติโย) และขัตติยา ด้วงสำราญ. (2564). ยุทธศาสตร์การบริหารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน. วารสารวิชาการสถาบัน พัฒนาพระวิทยากร, 4(2), 87-100.

นพฤทธิ์ ก้อนใจ, ไพรภ รัตนชูวงศ์, และประเวศ เวชชะ. (2560). การศึกษาพฤติกรรมการบริหาร ความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย, 10(1), 71-88.

นิมาลีกี ใบสะเม๊าะ. (2564). พฤติกรรมด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ประทีป ทับโทน. (2563). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนสังกัดเทศบาล. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. (2552, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 1 – 19.

มณฑิรา บุตโยธี, วรกฤต เถื่อนช้าง และธานี เกสทอง. (2568). รูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตามหลักสาราณียธรรม 6. วารสารวิจยวิชาการ, 8 (2), 297-314.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 .(2565). พันธกิจ/วิสัยทัศน์. เรียกใช้เมื่อ 14 สิงหาคม 2566 จาก https://www.ska1.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-28