การพัฒนาทักษะการแต่งคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับแอปพลิเคชัน
คำสำคัญ:
ทักษะการแต่งคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ, การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD, แอปพลิเคชันบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแอปพลิเคชัน เพื่อพัฒนาทักษะการแต่งคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแต่งคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแอปพลิเคชัน และ 3) เพื่อศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนพรานกระต่าย พิทยาคมปีการศึกษา 2567 จำนวน 42 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาทักษะการแต่ง คำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ 2) แอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาทักษะการแต่งคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ 3) แบบทดสอบวัดทักษะการแต่งคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแอปพลิเคชัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแอปพลิเคชัน เพื่อพัฒนาทักษะการแต่งคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 84.42/82.19 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) ทักษะการแต่งคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแอปพลิเคชันสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแอปพลิเคชัน เพื่อพัฒนาทักษะการแต่งคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.63, S.D. = 0.33)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กัลยา หวังปัญญา. (2551). การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปวิชาภาษาไทย เรื่องโคลงสี่สุภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ กรุงเทพมหานคร. ใน สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ขนิษฐา ซังยืนยง. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้บันไดทักษะ 4 ขั้นร่วมกับแอปพลิเคชัน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จุฑามาศ ศรีใจ. (2564). การพัฒนาทักษะการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทย โดยใช้บทเรียนการ์ตูน ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ใน การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ฐะปะนีย์ นาครทรรพ. (2523). การประพันธ์ ท041. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.
ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรพงษ์ มั่นศรี. (2566). การพัฒนาทักษะการแต่งคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 4MAT ร่วมกับ STAD. ใน การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พรญาณี ศรีสวัสดิ์. (2565). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญสำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ. ใน การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
โรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม. (2566). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566. โรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม, กำแพงเพชร.
สนทยา คำอ่อน. (2560). ผลการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีต่อความสามารถในการแต่งคำประพันธ์และความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนลองวิทยา จังหวัดแพร่. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.