ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะในด้านการจัดการเรียนการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • อังคนา บดีรัฐ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สกนธ์ชัย ชะนูนันท์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี, สมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนของครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนของครู 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีกับสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนของครู กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 242 คน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เป็นผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 30 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง และครูผู้สอนจำนวน 212 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของครูผู้สอนแต่ละโรงเรียน เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร ปีการศึกษา 2567 ใช้แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 28 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ระดับมาก 2) สมรรถนะในด้านการจัดการเรียนการสอนของครู ในภาพรวมอยู่ระดับมาก       3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะในด้านการจัดการเรียนการสอนของครู โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01 อยู่ในระดับสูงมาก โดยด้านที่มีความความสัมพันธ์กันสูงสุด คือ ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีด้านการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ กับสมรรถนะในด้านการจัดการเรียนการสอนของครู และด้านที่มีความความสัมพันธ์กันต่ำสุด คือภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีด้านความรู้ทางกฎหมายและจริยธรรมด้านเทคโนโลยีกับสมรรถนะในด้านการจัดการเรียนการสอนของครู ดังนั้น งานวิจัยในครั้งต่อไปควรศึกษา แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีในด้านการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา

References

จุฬาลักษณ์ พรหมอุบล. (2564). อิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลต่อความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนของครู ในโรงเรียนจังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศษ.ม.). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

ธีรโชติ หลายโท. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีและทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

บรรจง ลาวะสี. (2560). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในยุคไร้พรมแดน. วารสาร มหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 6(2), 1.

บุญชม ศรีสะอาด และ สุริทอง ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สุวีริยาสาส์น.

วิภาวรรณ เอกวรรณัง. (2560). การพัฒนาชุดประเมินสมรรถนะวิชาชีพครู สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2558). ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี: การนำเทคโนโลยีสู่ห้องเรียนและโรงเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศววร, 17(4), 216-224.

เอกพงษ์ มังกะระ. (2566). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา ตำบลแม่นาวาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.

อาราดา ปรักมานนท์. (2562). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งต่อสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, นครปฐม.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. Harper and Row.

Davis, K. (1971). Human behavior at work: Human relations and organizational behavior. McGraw-Hill.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R. (1976). The human organization: Its management and value. McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-28