การบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
คำสำคัญ:
การบริหารสถานศึกษา, หลักพรหมวิหาร 4, การบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 2)เพื่อศึกษาแนวการบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 และ 3) เพื่อประเมินแนวการบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 จำนวน 216 แห่ง รวม 1,662 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง 310 คน ซึ่งกำหนดขนาดตัวอย่างโดยทำการใช้สูตรเครจซี่และมอร์แกน โดยเลือกแบบผู้ให้ข้อมูลเป็นประธานเครือข่ายสถานศึกษา จำนวน 7 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินความเหมาะสม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 รวมอยู่ในระดับ มาก 2) แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 พบว่ามี 4 ด้าน 20 ข้อ คือแนวทางด้านการบริหารงานวิชาการตามหลักพรหมวิหาร 4 จำนวน 5 ข้อ แนวทางด้านการบริหารงานบุคลากรตามหลักพรหมวิหาร 4 จำนวน 5 ข้อ แนวทางด้านการบริหารงานงบประมาณตามหลักพรหมวิหาร 4 จำนวน 5 ข้อ แนวทางด้านการบริหารงานทั่วไปตามหลักพรหมวิหาร 4 จำนวน 5 ข้อ และ 3) ผลการประเมินความเหมาะสมของแนวทางในการส่งเสริมการบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 พบว่า ทุกข้อมีความเหมาะสมอยู่ระหว่าง 80 – 100
References
นันทพร ทองเชื้อ, มิตภาณี พุ่มกล่อม และพงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์. (2565). การบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(1). 90-102.
นิตติยา เกื้อทาน. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในอำเภอปลวกแดงจังหวัดระยอง. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญถม อินทรถา. (2561). การบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหาร ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกลุ่มโรงเรียนหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัยวิชาการ, 1(1), 83–96..
พระภัทรพงษ์ ฐิตญาโณ (ปิดตาระโพธิ์). (2562). การบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1.วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 2(1),1-10.
พิมพ์ใจ โนนธิง. (2558). การบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. ธรรมทรรศน์, 15(1),135-142.
วีณา คำคุ้ม. (2561). พฤติกรรมการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิด เห็นของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 14 ในจังหวัดพังงา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. (2567). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2566-2570 (ฉบับปรับปรุง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568). เรียกใช้เมื่อ 25 กันยายน 2567 จาก http://www.nst3.go.th.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, in Attitude Theory and Measurement. P.90-95.