ปัจจัยที่ส่งเสริมการคงอยู่ในงานของครูเจ้าหน้าที่การเงินของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การศึกษาพหุกรณี
คำสำคัญ:
การคงอยู่ในงาน, ครูเจ้าหน้าที่การเงิน, พหุกรณีศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมการคงอยู่ในงานของครูเจ้าหน้าที่การเงินของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและ2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการส่งเสริมการคงอยู่ในงานของครูเจ้าหน้าที่การเงินของสถานศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีพหุกรณีศึกษา ผู้ให้ข้อมูลหลักมี 2 กลุ่มได้แก่ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 3 คน 2) ครูเจ้าหน้าที่การเงิน จำนวน 3 คน รวมจำนวน 6 คน จากโรงเรียนที่มีระบบการบริหารงบประมาณที่ดี การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสรุปอุปนัย
ผลการวิจัยพบว่า1)ผลการศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมการคงอยู่ในงานของครูเจ้าหน้าที่การเงินพบว่ามี 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านองค์กรและนโยบาย2)ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ3)ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ4)ด้านส่วนบุคคล5)ด้านลักษณะงานและ6)ด้านผู้บริหาร นอกจากนี้ยังพบปัจจัยที่ค้นพบใหม่ 2 ปัจจัย คือด้านคุณธรรมจริยธรรม และด้านการสนับสนุน ซึ่งส่งผลต่อความผูกพัน ความพึงพอใจ ความมั่นคงในอาชีพของครูเจ้าหน้าที่การเงิน ผลการศึกษานี้นำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบบริหารงานบุคลากรในโรงเรียนอื่นได้2)ข้อเสนอแนะการส่งเสริมการคงอยู่ในงานของครูเจ้าหน้าที่การเงินพบว่าผู้บริหารมีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นคงในหน้าที่การงานของบุคลากรผ่านการส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงาน การให้กำลังใจอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการเงิน อีกยังให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผนและตัดสินใจที่ช่วยเสริมสร้างความผูกพันและความตั้งใจที่จะคงอยู่ในงานในระยะยาว จากงานวิจัยนี้สามารถนำไปปรับใช้กับโรงเรียนของตนเองได้ เพื่อให้ครูเจ้าหน้าที่การเงินปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปได้
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. คุรุสภา.
รัตนะ บัวสนธ์. (2558). วิธีวิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุจิตรา ศิริสวัสดิ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ในงานของบุคลากรสายสนับสนุนในสถานศึกษา. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 15(2), 85–97.
อมลวรรณ วีระธรรมโม. (2566). ครูไม่สบายใจต้องทำหน้าที่การเงิน-พัสดุ. ครูวัน. เรียกใช้เมื่อ 20 มิถุนายน 2566. จาก https://www.kruwandee.com/news-id51540.html.
Baker, B. D., & McGowan, R. (2007). The management of school finance: What school leaders need to know. Journal of School Business Management, 8(2), 22-35.
Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1994). Improving Organizational Effectiveness through Transformational Leadership. Thousand Oaks, CA: Sage.
Brunetti, G. J. (2001). Teacher morale and student achievement: The impact of school leadership. Journal of Educational Administration, 39(4), 366-379.
Davis, F. D. (1989). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and User Acceptance of Information Technology. MIS Quarterly, 13(3), 319–340.
Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. B. (1959). The Motivation to Work. New York: Wiley.
Smith, A., & Kennedy, K. (2014). Challenges in financial management in schools: An analysis. Education Finance and Policy, 9(2), 123-144.
Taunton, R. L., Krampitz, S. D., & Woods, C. Q. (1989). Manager impact on retention of hospital staff: Part I. Journal of Nursing dministration, 19(3),14-18.