ภาวะผู้นำและการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง

ผู้แต่ง

  • วรพันธ์ รอดสถิตย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, การบริหารความขัดแย้ง, สุขภาพองค์การ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำ การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหาร และสุขภาพองค์การของสถานศึกษา 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำและการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารกับสุขภาพองค์การของสถานศึกษา 3) สร้างสมการภาวะผู้นำและการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารที่สามารถทำนายสุขภาพองค์การของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู จำนวน 270 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.979 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสมการถดถอยพหุคูณแบบบเป็นขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำ ระดับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหาร และระดับสุขภาพองค์การของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ภาวะผู้นำกับสุขภาพองค์การของสถานศึกษา ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารกับสุขภาพองค์การของสถานศึกษา ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) สมการพยากรณ์ภาวะผู้นำและการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารที่สามารถทำนายสุขภาพองค์การของสถานศึกษา พบว่า มีจำนวน 4 ตัวแปร คือ แบบภาวะผู้นำทางวิชาการ (X3) แบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (X1) การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารแบบร่วมมือ (X7) แบบหลีกเลี่ยง (X4) สามารถร่วมกันทำนายสุขภาพองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง ได้ร้อยละ 74.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้

   = 1.359 + 0.209X3 + 0.167X1 + 0.354X7 - 0.049X4 

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน

   = 0.239ZX3 + 0.186ZX1 + 0.406ZX7 - 0.127ZX4

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. เรียกใช้เมื่อ 20 เมษายน 2568 จาก https://www.slideshare.net/slideshow/2551-34345876/34345876.

กฤษกรณ์ กำเนิดมณี และ ละมุน รอดขวัญ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงามเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 13(2), 149-159.

จิตราพัชร์ ชัยรัตนหิรัญกุล. (2556). การศึกษาการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียน สำนักงานเขดพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 3(5), 137-152.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการสร้างเครื่องมือวิจัย: แนวทางการนำไปใช้อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: อมรการพิมพ์.

โชติกา แสงอรุณ. (2560). แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนและแรงจูงใจในการทำงานของครูที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ณัฐณิการ์ แก้วสุธา. (2564). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 13(2), 207-220.

ต่อศักดิ์ ศรีแก้วแฝก. (2563). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ธนพงษ์ จอมพระ, ลินดา นาคโปย และ สายฝน เสกขุนทด. (2565). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูในรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 19(85), 110-120.

ธนัตติยา จาตุรนต์. (2558). การวิเคราะห์องค์ประกอบสุขภาพองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมเขต 3. ใน ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เนาวรัตน์ ช่างเครื่อง. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้สุขภาพองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมถัมภ์.

ประสบชัย บุญแสง. (2548). การศึกษาการบริหารความขัดแย้งที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของบุคลากรและประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พิมพิลาลัย รักษ์โคตร. (2566). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง. (2565). แผนพัฒนาการศึกษา ระยะ 5 ปี. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2567 จาก https://www.sesasingthong.go.th/?p=2881.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). รายงานผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นพื้นฐานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2567 จาก https://anyflip.com/nqvic/satc/basic.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2567 จาก https://www.lampang.go.th/public60/EducationPlan2.

สุฑาทิพย์ ทิพย์โสตร์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศรุศาสตรมหาบันฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

อรรถพล ประเสริฐสังข์. (2566). ภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อาวัชนนท์ อิ่มเพ็ง. (2566). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ÇElİK, K., & Tosun, A. (2019). Okul Yöneticilerinin Çatışma Yönetim Stilleri İle Örgütsel Sağlık Arasındaki İlişki. Adıyaman Üniversitesi Eğitim Bilimleri Dergisi, 9(1), 99-121.

Feldman, & Hoy, W. K. (2000). “Organizational Health : The Concept and its Measure,”. Journal of Research and Development in Education.

Guarnaccia, S. (1994). Healthy Companies. Training and Development.

Hanifi, P., & Ramazan, C. (2017). Examining the Relationship between Instructional Leadership and Organizational Health. Journal of Education and Training Studies, 5(4).

Hoy, W., K., & Forsyth, P. B. (1986). Effective supervision: Theory in to Practice. New York : Ramdon House. .

Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (Eds.). (1991). Educational administration : Theory-research-practice (4th ed.). Singapore: McGraw-Hill.

Hoy, W. K., & Sabo, J. D. (1997). Quality middle school: Open and healthy. Englewood Cliffs, NJ: Prince-Hall.

Krejcie, R. B., & Mogan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Phychological Measurement.

Leithwood, K. (2005). Educational Leadership. A Review of the Research.

Miles, M. B. (1973). PLANNED CHANGE AND ORGANIZATIONAL HEALTH--FIGURE AND GROUND. Boston : Allyn and Bacon.

Wright, P. M., & Noe, R. A. (1996). Management of organization. Chicago: Irwin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-28