รัฐศาสตร์กับคัมภีร์ในพระไตรปิฎก
Abstract
รัฐศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการปกครองภาครัฐ ซึ่งถือเป็นสาขาหนึ่งของสังคมศาสตร์ที่กล่าวถึงทฤษฎีการจัดตั้งองค์กรของรัฐบาลและการดำเนินงานภาครัฐ รวมถึงพฤติกรรมทางการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างวิชารัฐศาสตร์กับสาขาวิชาอื่น ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน และ ระหว่างอำนาจกับกฎหมาย กระบวนการทางการเมือง รวมทั้งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับรัฐและสังคมการศึกษาด้านรัฐศาสตร์นั้นถูกจัดว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องราวและสถาบันที่เป็นสาธารณะ สาขาวิชานี้มักถูกแบ่งเป็นหลายด้าน เช่น ปรัชญาทางรัฐศาสตร์รัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ รัฐศาสตร์ระดับชาติ
หลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธ ซึ่งมีหลักธรรมคำสอนเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของศาสนิกชน โดยทุกศาสนามีเป้าหมายเดียวกันคือ มุ่งให้ทุกคนมีคุณธรรมจริยธรรม และสอนให้คนเป็นคนดี ดังนั้น ศาสนาแต่ละศาสนาจึงมีหลักธรรมคำสอนของตนเอง เป็นแนวทางในการประพฤติดีปฏิบัติชอบ ประกอบกรรมดี ฉะนั้น พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ใช้สอนชำวพุทธหรือพุทธศาสนิกชนได้ยึดถือปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งใช้เป็นแนวทางดำเนินชีวิตมีหลายข้อหลายประการ อาทิปฏิจจสมุปบาทสิบสอง อริยสัจสี่ สติปัฏฐานสี่ สัมมัปธานสี่ อิทธาทสี่ อินทรีย์ห้า พละห้า โพชฌงค์เจ็ด สัปปุริสธรรมเจ็ด และเจตสิตห้าสิบสองดวง เป็นต้น
References
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2560). คุณธรรมจริยธรรมนักการเมือง. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์
น้อม ดาดขุนทด. (2564). หลักสูตรพระไตรปิฎกชั้นต้น (1 ปี). ออนไลน์ สถาบันพระบาฬีโพธิยาลัย วัดจากแดง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2543). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่11. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อภินันท์ จันตะนี. (2566). รัฐศาสตร์กับคัมภีร์ในพระไตรปิฎก. จำนวน 279 หน้า ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน วังใหม่กรุงเทพฯ
อนุสรา แก้วงาม. (2563). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวรรณคดี. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.