การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การพัฒนาชุมชน, ประชาชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง ที่จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ 3) เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชากรที่อาศัยในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบวัดหลวง อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้น จำนวน 380 คน ด้วยการใช้สูตรของทาโรยามาเน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติค่า และใช้สถิติเอฟ
ผลการวิจัยพบว่า
- การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล รองลงมาคือด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์
- ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง ที่จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน โดยภาพรวม พบว่าประชาชนที่มีอายุและอาชีพ ต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ สถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน ส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง ไม่แตกต่างกัน
- ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ได้แก่ 1) ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดลำดับความสำคัญของโครงการเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากการกำหนดนโยบายสาธารณะ 2) ควรมีการจัดประชุมเพื่อให้ประชาชนเป็นผู้ให้ข้อมูลที่จำเป็นในการวางแผนขั้นตอนในการจัดการกำหนดนโยบายสาธารณะ 3) ควรสร้างแบบสอบ ถามความพึงพอใจในการดำเนินโครงการตามแผนต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ประเมินความพึงพอใจในการทำงาน และ 4) ควรหาแนวทางให้คนในชุมชนให้มีรายได้ ให้มีงานทำ ให้มีอาชีพเสริม สร้างความรักความสามัคคีกันในชุมชน
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2566). แผนปฏิบัติราชการรรายปี (พ.ศ. 2566) ของกรมการปกครอง. เรียกใช้เมื่อ 19 ตุลาคม 2567 จากhttps://www.dopa.go.th.
ปัณณทัต บนขุนทด, ริรร์ พิมมานุรักษ์, ธนัชพร หาได้ และสันติ คู่กระสังข์. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(1), 209-222.
ภูริชาญ สิงห์นิล และบุญเหลือ บุบผามาลา. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี,วารสารวิจัยธรรมศึกษา,4(2),27-28.
ศักดิ์ดา เอี่ยมชัย. (2566). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตอําเภอพรหมพิรามจังหวัดพิษณุโลก.วารสารการบริหารและสังคมศาสตรปริทรรศน, 6(5),192-202.
สัญญา วรรณศรี และโกศล สอดส่อง. (2567). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี. วารสารปารมิตา ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา. 6(1), 631 – 639.
ศิริวิทย์ สิทธินิสัยสุข. (2566). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลตำบลห้วยกะปิอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
องค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง. (2561). ข้อมูลทั่วไปด้านจำนวนจำนวนประชากร. เรียกใช้เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2567 จากhttp://www.watluanglocal.go.th.
Cronbach, L.J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16, 297 – 334.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper. & Row.