รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครสวรรค์เขต 1 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร

ผู้แต่ง

  • วรินทร์ธรา ภัคอัมพาพันธ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์
  • ธานี เกสทอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์
  • วรกฤต เถื่อนช้าง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์

คำสำคัญ:

ผู้บริหาร, รูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา, หลักทุติยปาปณิกสูตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 2) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1  ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร 3) ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1  ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการ ครูผู้รับผิดชอบการประกันคุณภาพระดับประถมศึกษา และครูผู้รับผิดชอบการประกันคุณภาพระดับปฐมวัย จำนวน 113 แห่งๆ ละ 4 คน รวม 452 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมินและรับรองรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. การวิเคราะห์องค์ประกอบของการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 ได้ 7 องค์ประกอบ 82 ตัวแปร
  2. รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ (1) ส่วนนำ (2) เนื้อหาและแนวทางการดำเนินงาน ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา องค์ประกอบที่ 2 ทรัพยากรทางการบริหารสถานศึกษา องค์ประกอบที่ 3 การบริหารจัดการสถานศึกษา องค์ประกอบที่ 4 การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ องค์ประกอบที่ 5 การนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา องค์ประกอบที่ 6 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษา และองค์ประกอบที่ 7  การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  และ (3) เงื่อนไขความสำเร็จ 
  3. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร พบว่า มีความถูกต้อง มีความเป็นไปได้ มีความเหมาะสมและมีประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. เอกสารชุดแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

ณัฐตะวัน ลิ้มประสงค์. (2556). การบริหารจัดการการประกันคุณภาพสถานศึกษาสำหรับอนาคต. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิรมล รอดไพ. (2564). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นครสวรรค์ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมรัฐ แก้วสังข์. (2557). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ.2566-พ.ศ.2570), สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2566. จาก : https://www.nsw1.go.th.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สมประสงค์ ยมนา. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

อุดม อรุณราช. (2563).องค์ประกอบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Joseph, Mathew and Beatriz Joseph. (1997). Service quality in education: a student perspective. Quality Assurance in Education 5.

Krejcie, R. & Morgan. (1970). Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Likert, R. (1967). The human organization: Its management and value. New York: McGraw-Hill.

Willer, D.(1986). Scientific sociology: Theory and method. Englewood Cliff. N.J.:Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-28