การพัฒนารูปแบบการดูแลและสร้างความปลอดภัยแก่นักเรียนในยุคดิจิทัล โดยใช้ชุมชนเป็นฐานสำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6

ผู้แต่ง

  • พระมหาฐิติวัสส์ ฐิติวฑฺฒโน (หมั่นกิจ) โรงเรียนพระเทพบัณฑิตวิทยานุสรณ์
  • อุไรรัตน์ ทิพยเนตร วิทยาลัยศาสนศาสตร์นครราชสีมา
  • รัศมี อุกประโคน วิทยาลัยศาสนศาสตร์นครราชสีมา
  • นิพล อินนอก วิทยาลัยศาสนศาสตร์นครราชสีมา
  • วทัญญู ภูครองนา วิทยาลัยศาสนศาสตร์นครราชสีมา

คำสำคัญ:

การสร้างความปลอดภัยแก่นักเรียน, ชุมชนเป็นฐาน, ยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบและความต้องการจำเป็นในการดูแลและสร้างความปลอดภัยแก่นักเรียนในยุคดิจิทัลโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 2) พัฒนารูปแบบการดูแลและสร้างความปลอดภัยแก่นักเรียนในยุคดิจิทัลโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 124 คน โดยการสุ่มแบบแบบแบ่งชั้น กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถามสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็น แบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNI Modified)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการดูแลและสร้างความปลอดภัยแก่นักเรียนในยุคดิจิทัลโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การเสริมสร้างทักษะดิจิทัลอย่างปลอดภัยมี (2) การปลูกฝังจริยธรรมและความรับผิดชอบในสังคมดิจิทัล (3) การเสริมสร้างความร่วมมือของชุมชนเพื่อความปลอดภัยดิจิทัล (4) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อความปลอดภัยในยุคดิจิทัล (5) การบริหารจัดการและตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ (6) การดูแลสุขภาพจิตและอารมณ์ของนักเรียนในโลกดิจิทัล 2) รูปแบบการดูแลและสร้างความปลอดภัยแก่นักเรียนในยุคดิจิทัลโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ สาระสำคัญ วิธีการดำเนินงาน เงื่อนไขของความสำเร็จ รูปแบบมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566 - 2570) ของสำนักงาน คณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 .(2567). แผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณ 2567. นครราชสีมา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานสภาพปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษา ยุคดิจิทัลในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ปัทมา พุธแสน (2565) การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยบูรณาการการจัดการศึกษาโรงเรียนสุขภาวะ โรงเรียนแหลมทองผดุงวิทย์. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม, 41(6),91-108.

รัตนผล กรรณิกาและคณะ .(2567). การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสหวิทยาเขตกลุ่มดอยอินทนนท์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เชียงใหม่. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศ์, 8(4),422-437.

อัษฎา พงษ์พัฒน์, สุมาลี ศรีพุทธรินทร์และจารุวรรณ เขียวข้ำชุม .(2565). สภาพ ความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุควิถีใหม่ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์,17(1), 169-178.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-28