ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนในเครือข่ายรัตนบุรี 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2
คำสำคัญ:
คุณภาพนักเรียน, ภาวะผู้นำทางวิชาการ, คุณลักษณะของครูผู้สอนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพนักเรียน
2) เพื่อศึกษาคุณภาพนักเรียน และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนในเครือข่ายรัตนบุรี 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 11 คน และครูผู้สอน จำนวน 115 คน รวมทั้งหมด 126 คน โดยวิธีสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพนักเรียน และแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน
โดยภาพรวมซึ่งอยู่ในระดับมาก ( = 4.36, S.D. = 0.21) และปัจจัยด้านคุณลักษณะของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก = 4.40, S.D. = 0.29) 2) คุณภาพนักเรียนของโรงเรียน โดยภาพรวมซึ่งอยู่ในระดับมาก ( = 4.40, S.D. = 0.19) 3) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร และปัจจัยด้านคุณลักษณะของครูผู้สอน ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณภาพนักเรียน ได้ร้อยละ 59.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์ (S.E.est) เท่ากับ 0.127 ได้สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้
สมการรูปคะแนนดิบ Y' = 2.138 + 0.319X1 + 0.189X2
สมการรูปคะแนนมาตรฐาน Z'y = 0.706ZX1 + 0.242ZX2
References
กันตพัฒน์ มณฑา. (2562).ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการวิจัย. 8(2), 289-296.
ธัญญ์วรัท ภัทร์นันตชัย และธนพลอยสิริ สิริบรรสพ. (2567). ภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี. 7(6), 62-80.
ประวิตา มีเปี่ยมสมบูรณ์, ธร สุนทรายุทธ และสมุทร ชำนาญ. (2556).ปัจจัยที่ส่งผลต่อมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. 7(1), 91-102.
ปรมาภรณ์ อ่อนนุ่ม. (2560).ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
พงษ์ศักดิ์ ศิริโอภา, พจนีย์ มั่งคั่ง และ อังคณา กุลนภาดล. (2564).ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. วารสารบัณฑิตวิจัย. 12(1), 107-122.
มารุต พัฒผล. (2563). การประเมินการเรียนรู้ใน New normal. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วราภรณ์ ลวงสวาส, สฎายุ ธีระวณิชตระกูล และชัยพจน์ รักงาม. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย. 6(1), 236-254.
สิริพร เฉลิมชุติเดช และ ศันสนีย์ จะสุวรรณ์. (2565).ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. 12(2), 253-262.
อัญรินทร์ แก้วอินธิ. (2564). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. ใน ปริญญานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.