การศึกษาแนวคิดทางสุทรียศาสตร์ และสัญศาสตร์ของไอคอน พระนางมารีย์พรหมจารีในโบสถ์คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก
คำสำคัญ:
แนวคิดทางสุทรียศาสตร์, สัญศาสตร์, ไอคอนพระนางมารีย์พรหมจารี, โบสถ์คริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทางสุนทรียศาสตร์ และสัญศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาประวัติและไอคอนของพระนางมารีย์พรหมจารีในโบสถ์คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคอทอลิก 3)เพื่อ วิเคราะห์แนวคิดสุนทรียศาสตร์และสัญศาสตร์ ของไอคอนพระนางมารีย์พรหมจารี ในโบสถ์คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก 4) เพื่อวิจารณ์แนวคิดทางสุนทรียศาสตร์ และสัญศาสตร์ ของไอคอนพระนางมารีย์พรหมจารีย์ ในโบสถ์คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสาร
ผลการศึกษาพบว่า 1) สุนทรียศาสตร์เป็นแนวคิดที่ศึกษาความงามกระบวนการรับรู้เกี่ยวกับความรู้สึก และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความงาม ทั้งความงามจากธรรมชาติและความงามจากผลงานศิลปะ ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้ต้องการวิเคราะห์ไอคอนของพระนางมารีย์พรหมจารี ซึ่งเป็นผลงานศิลปะของศิลปิน จึงต้องใช้ทฤษฎีในการอธิบายความงาม 2) พระนางมารีย์พรหมจารีย์เป็นมารดาของพระเยซู และเป็นแม่พระของคริสต์ชน มีบทบาทสำคัญต่อคริสต์ศาสนาโดยมีความเชื่อว่าพระนางจะพาผู้ศรัทธาไปหาพระเจ้าความศรัทธาที่มีต่อพระนางมารีย์พรหมจารีได้แผ่ไปอย่างกว้างขวาง 3) ไอคอนพระนางมารีย์พรหมจารีย์ เป็นผลงานศิลปะที่ศิลปินสร้างขึ้นเป็นภาพแทนพระนางมารีย์ผู้เป็นมารดาของพระเยซูคริสต์มีลักษณะทางสุนทรียะและสัญญะที่สัมพันธ์กับความเชื่อตามหลักคริสต์ศาสนาและบริบทของสังคมและวัฒนธรรม เป็นผลงานศิลปะที่มีคุณค่าทางสุนทรียะที่สามารถสร้างประสบการณ์สุนทรียะให้กับผู้ชมทางสังคมได้ 4) ข้อวิจารณ์ในส่วนของทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ก็คือเรื่องของเกณฑ์ในการพิจารณา และความไม่เป็นสากลของความงามเนื่องจากขึ้นอยู่กับภาวะอัตวิสัยของผู้ชมทางสังคม
References
กาญจนา แก้วเทพ และ สมสุข หินวิมาน. (2553). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎี เศรษฐศาสตร์ การเมืองกับสื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.
สมาคมคาทอลิกแห่งประเทศไทย. (2555). การเสด็จเยือนมนุษย์ชาติของพระนางมารีย์. เรียกใช้เมื่อ 15 มีนาคม 2566 จาก
https://www.catholicassociationthailand.or.th/.
จี ศรีนิวาสัน.(2534). สุนทรียศาสตร์ปัญหาและทฤษฎีว่าด้วยความงามและศิลปะ.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
จอร์ เฟอร์กูสัน.(2562). เครื่องหมายและสัญลักษณ์ในคริสตศิลป์.(พิมพ์ครั้งที่ 9) .กรุงเทพมหานคร: สาธุกิจโรงพิมพ์บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
พงศ์ ประมวล. (2539). ความเชื่ออันเป็นชีวิตในพระแม่มารีย์ หนทางสู่พระคริสต์เจ้า. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สมาคมคาทอลิกแห่งประเทศไทย.
โรล็องค์ บาร์ตส์. (2544). มายาคติ Mythologies. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
มัวรีน ออร์ท. (2560). พระแม่มารีย์ สตรีผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก. เรียกใช้เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://ngthai.com/uncategorized/348/mother-mary/).