อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ในประเทศไทย ผู้ประชากรของงานวิจัยคือนักท่องเที่ยวที่สนใจและมีประสบการณ์ในการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ในประเทศไทย วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างของงานวิจัย การเก็บข้อมูลเป็นแบบสุ่มตามสะดวก โดยได้รับแบบสอบถามที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริงกลับมาจำนวน 320 ชุด สำหรับการวิเคราะห์ทางสถิติของการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยเลือกใช้การวิเคราะห์สมการโครงสร้างแบบ PLS-SEM ผลการศึกษามีดังนี้ (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ในช่วงระหว่าง 20-30 ปี ส่วนมากมีสถานภาพโสดและมีการศึกษาในระดับปริญญาตรี (2) ผลการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาของตัวแปรงานวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของตัวแปรทุกตัวมีค่าความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามในระดับมาก (3) ผลการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพลในตัวแบบสมการโครงสร้างพบว่า การโฆษณาและการตลาดออนไลน์มีอิทธิพลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวไทย ส่วนการตลาดทางตรงมีอิทธิพลเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ และ (4) การประชาสัมพันธ์ การขายโดยบุคคล และการส่งเสริมการขาย ไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวไทย ผู้วิจัยเสนอแนะว่า ผู้จัดการที่ดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ในประเทศไทยควรให้ความสำคัญกับการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการในด้านการโฆษณา การตลาดออนไลน์ และการตลาดทางตรง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์
บทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผู้เขียนที่ตีพิมพ์ ยอมรับเงื่อนไขต่อไปนี้:
- ผู้เขียนรักษาลิขสิทธิ์และให้สิทธิ์วารสารในการตีพิมพ์ครั้งแรกพร้อมกับผลงานที่ได้รับใบอนุญาตพร้อมกันภายใต้ Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) ที่อนุญาตให้ผู้อื่นแบ่งปันผลงานโดยรับทราบถึงผลงานของผู้เขียนและ การตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารนี้
- ผู้เขียนสามารถทำข้อตกลงเพิ่มเติมตามสัญญาแยกต่างหากสำหรับการเผยแพร่ผลงานฉบับตีพิมพ์ของวารสารแบบไม่ผูกขาด (เช่น โพสต์ลงในพื้นที่เก็บข้อมูลของสถาบันหรือตีพิมพ์ในหนังสือ) โดยรับทราบการตีพิมพ์ครั้งแรก ในวารสารนี้
- ผู้เขียนได้รับอนุญาตและสนับสนุนให้โพสต์ผลงานของตนทางออนไลน์ (เช่น ในคลังข้อมูลของสถาบันหรือบนเว็บไซต์) ก่อนและระหว่างขั้นตอนการส่งผลงาน เนื่องจากอาจนำไปสู่การแลกเปลี่ยนที่มีประสิทธิผล ตลอดจนการอ้างอิงงานที่ตีพิมพ์เร็วขึ้นและมากขึ้น
References
กฤตยภัทร ธรรมรุจี. (2564). การสื่อสารการตลาดเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวจังหวัดตราด. (ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี : จันทบุรี.
จุฑาธิปต์ จันทร์เอียด, อังสุมาลิน จำนงชอบ และ ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2562). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์โดยชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง ตำบลศรีนาวา จังหวัดนครนายก. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 5(1), 1-18.
ดวงศิริ ภูมิวิชชุเวช. (2559). การสื่อสารทางการตลาดสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลรูปแบบการท่องเที่ยวสีเขียวในจังหวัดเชียงราย. วารสารการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 3(1), 44-65.
ธัญวลัย หงส์ทอง. (2561). กลยุทธ์การตลาดเชิงประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในจังหวัดเชียงใหม่. (ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ : กรุงเทพฯ.
บุญตา วัฒนวานิชย์กุล. (2557). การพัฒนายุทธศาสตร์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเส้นทางสายไหมกลุ่มจังหวัดชัยบุรินทร์. https://doi.nrct.go.th/ListDoi/Download/439699/a3f87cbb8fcca1e07294dcfcef8baea1?Resolve_DOI=10.14457/STOU.the.2014.202
พิมุกต์ สมชอบ. (2560). โมเดลกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อดึงดูดการท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 6(1), 29-38.
ภัสชา วงศ์ทิมารัตน์. (2558). ประสิทธิผลของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อสร้างภาพลักษณ์ธุรกิจสปา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 9(1), 106-124.
วรรณภา แตกปัญญา. (2559). แนวทางการพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. (ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ : กรุงเทพฯ.
อดิเทพ กำแพงเสรี, ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์ และ สมศักดิ์ เชาว์ธาดาพงศ์. (2564). การสร้างกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดเพื่อส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวงานนิทรรศการศิลปะในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(1), 417-430.
Chen, X., Cheng, Z. F., & Kim, G. B. (2020). Make it memorable: Tourism experience, fun, recommendation and revisit intention of Chinese outbound tourists. Sustainability, 12, 1-24.
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques. (3rd ed.). John Willey and Sons.
Cong, X. (2021). Research on the tourism decision-making mechanism: A case study of American outbound tourism. Informing Science: The International journal of an Emerging Transdiscipline, 24, 129-147.
Gelhard, C. & Delft, S. (2015). The role of strategic and value chain flexibility in achieving sustainability performance: An empirical analysis using conventional and consistent PLS. https://proceedings.utwente.nl/350/1/UsePLS_2015_submission_97.pdf
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2014). Multivariate data analysis. (7th ed.). Pearson Education.
Hair, J. F., Hult, G. T. M., Ringle, C. M., & Sarstedt, M. (2017). A primer on partial least squares structural equation modeling. (2nd ed.). Sage.
Henche, B. G. (2018). Urban experiential tourism marketing: Use of social media as communication tools by the food markets of Madrid. Journal of Tourism Analysis, 25(1), 2-22.
Henseler, J. F., Ringle, C. M., & Sarstedt, M. (2015). A new criterion for assessing
discriminant validity in variance-based structural equation modeling. Journal of the Academy of Marketing Science, 43, 115-135.
Konwar, J. & Chakrabarty, N. (2020). Integrated marketing communication as an element of visitors’ selection of heritage destination: A theorical framework. International journal of Research in Engineering Application and Management, 5(10), 39-46.
Liu, X., Mehraliyev, F., Liu, C., & Schuckert, M. (2020). The roles of social media on tourists’ choices of travel components. Tourist Studies, 20(1), 27-48.
Nootayasakul, C. & Pasunon, P. (2016). Factors of decision making of Thai tourists’ traveling to Lampraya market, Nakhon pathom. Dusit Thani College Journal, 10(1), 132-150.
Saeed, R., Naeem, B., Bilal, M., & Naz, U. (2013). Integrated marketing communication: A review paper. Interdisciplinary Journal of Contemporary Research in Business, 5(5), 124-133.
Yiannakou, A., Apostolou, A., Birou-Athanasiou, V., Papagiannakis, A., & Vitopoulou, A. (2022). Branding places through experiential tourism: A survey on the features of the experiential product and enterprises in Geek regions. Tourism and Hospitality, 3, 435-450.