การศึกษาความรู้ความเข้าใจในการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลและกฎหมายภาษีของประชากรในเขตภาคกลางตอนล่าง 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้ความเข้าใจในการจัดเก็บภาษีเรื่องสกุลเงินดิจิทัลของผู้ที่สนใจลงทุน 2) สำรวจผู้ลงทุนในภาคกลางตอนล่าง 2 มีความรู้ความเข้าใจและทัศนคติต่อกฎหมายภาษีของประเทศไทย 3) เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายภาษีของประเทศไทยกับสกุลเงินดิจิทัล
คณะผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากผู้ลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลของประชากรภาคกลางตอนล่าง 2 ด้วยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 384 คน จากการคำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรกลุ่มตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกนในการสุ่มตัวอย่าง และได้รับแบบสอบถามกลับมา จำนวน 285 คน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ F-test (ANOVA)
ผลการศึกษาพบว่า 1) ข้อมูลเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลโดยรวมและเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านความเข้าใจ ด้านการนำความรู้ไปใช้ ด้านการวิเคราะห์ ด้านการสังเคราะห์ และด้านการประเมินผล 2) มีข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจของผู้ลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลต่อกฎหมายภาษีโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ มีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายภาษี การตัดสินใจลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลและทัศนคติและการตัดสินใจของผู้ลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลต่อกฎหมายภาษี และ 3) เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจของผู้ลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลต่อกฎหมายภาษี มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์
บทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผู้เขียนที่ตีพิมพ์ ยอมรับเงื่อนไขต่อไปนี้:
- ผู้เขียนรักษาลิขสิทธิ์และให้สิทธิ์วารสารในการตีพิมพ์ครั้งแรกพร้อมกับผลงานที่ได้รับใบอนุญาตพร้อมกันภายใต้ Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) ที่อนุญาตให้ผู้อื่นแบ่งปันผลงานโดยรับทราบถึงผลงานของผู้เขียนและ การตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารนี้
- ผู้เขียนสามารถทำข้อตกลงเพิ่มเติมตามสัญญาแยกต่างหากสำหรับการเผยแพร่ผลงานฉบับตีพิมพ์ของวารสารแบบไม่ผูกขาด (เช่น โพสต์ลงในพื้นที่เก็บข้อมูลของสถาบันหรือตีพิมพ์ในหนังสือ) โดยรับทราบการตีพิมพ์ครั้งแรก ในวารสารนี้
- ผู้เขียนได้รับอนุญาตและสนับสนุนให้โพสต์ผลงานของตนทางออนไลน์ (เช่น ในคลังข้อมูลของสถาบันหรือบนเว็บไซต์) ก่อนและระหว่างขั้นตอนการส่งผลงาน เนื่องจากอาจนำไปสู่การแลกเปลี่ยนที่มีประสิทธิผล ตลอดจนการอ้างอิงงานที่ตีพิมพ์เร็วขึ้นและมากขึ้น
References
กรมสรรพากร. (2565). คำแนะนำการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคริปโทเคอร์เรนซี โทเคนดิจิทัล.
https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/lorkhor/information/manual_crypto_310165.pdf
กรุงศรีเพลินเพลิน. (2564). มือใหม่อยากลงทุนใน Bitcoin ต้องเตรียมตัวยังไง.
https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/how-to-start-invest-bitcoin
กลุ่มยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคกลาง. (2561). แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2.
http://www.osmcentral-s2.moi.go.th/main/ข่าวประชาสัมพันธ์/แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภา-2/
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 10). ไทยเนรมิตกิจอินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.
นิตยา ศิลาเลิศ. (2562). การตัดสินใจลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลของประชากรกรุงเทพมหานคร.https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin92/6214154741.pdf
ประกาศสำนักทะเบียนกลาง. (2564). จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร. https://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf
ปรารถนาอารี มูฮัมหมัดอัลโคลเลซ. (2563). การยอมรับเทคโนโลยีพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ และการรับรู้ความเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจใช้สกุลเงินดิจิทัลของผู้บริโภคในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/930/1/gs611130371.pdf
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 19(2561). แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัลและโทเคนดิจิทัล.
https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/033/71.PDF
ภิญญาพัชญ์ นาแหลม. (2564). แรงจูงใจและพฤติกรรมในการใช้สกุลเงินในรูปแบบดิจิทัลของผู้บริโภค : กรณีศึกษาสกุลเงินบิทคอยน์. https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/sun18/6214070104.pdf
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (2551). การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC). https://www.mcu.ac.th/article/detail/14329
ยุทธนา ศรีสวัสดิ์. (2560). ภาษีคืออะไร. https://www.itax.in.th/pedia.
ศฐา วรุณกูล,นริศราชมชื่น และภาณุพงษ์ ฉลาดดี. (2564). การศึกษาความรู้ความเข้าใจและทัศนคติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีสินทรัพย์ดิจิทัลของผู้สนใจลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล.
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MJBA/article/view/255591
สำนักราชบัณฑิตยสภา. (2562). Cryptocurrency.
https://www.facebook.com/RatchabanditThai/photos/a.2527569647301115/2527570973967649/?type=3
สุเมธ ศิริคุณโชติ. (2563). ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร 2563. (พิมพ์ครั้งที่ 2). หจก.เรือนแก้วการพิมพ์.
อธิการ ถิรวิริยพล. (2565). ประเภทของสกุลเงินดิจิทัลที่ใช้ลงทุนในประเทศไทยที่ถูกต้องตามกฎหมาย. https://www.fillgoods.co/online-biz/no-shop-what-is-digital-currency.
อังศุธร ศรีกาญจนสอน. (2562). การจัดกลุ่มผู้ลงทุนไทยตามพฤติกรรมการลงทุนใน Bitcoin.
https://repository.nida.ac.th/items/49318f96-e74f-4d7a-8680-09aa24b0e00e
Brandbuffet. (2564). เปิดผลสำรวจ “อิปซอสส์” คนไทยทุกวัยสนใจ Bitcoin แม้เสี่ยงสูงแต่ทำกำไรเร็ว “รุ่นใหม่”ลงทุนสูงสุด.
TSIS Team. (2563). การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูป. https://www.thetsis.com/post/research-tips-sampling