ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนในเขตตำบลพังโคน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

สุมินทร เบ้าธรรม
ดวงฤดี อู๋
จิราภา ชาลาธราวัฒน์
นัฐมน ดาบพิมพ์ศรี
จิดาภา ธารดอนรัตน์

บทคัดย่อ

            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนในเขตตำบลพังโคน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ อัตราส่วนความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


              ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านภาระหนี้สิน และปัจจัยด้านการยอมรับความเสี่ยง มีอิทธิพลทางลบต่อพฤติกรรมการออม และปัจจัยด้านรายได้ ด้านรายจ่าย ด้านทัศนคติในการออม และด้านการตระหนักรู้ ในการออมไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออม ข้อสนเทศที่ได้จากงานวิจัยเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในการวางแผนการออมของประชาชน

Article Details

How to Cite
เบ้าธรรม ส., อู๋ ด., ชาลาธราวัฒน์ จ., ดาบพิมพ์ศรี น., & ธารดอนรัตน์ จ. (2024). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนในเขตตำบลพังโคน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร. วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี, 3(2), 1–17. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMSA_FMS_URU/article/view/4961
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2553). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 9). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.) จังหวัดสกลนคร. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร พ.ศ.2566-2570 (ฉบับทบทวน) ปีงบประมาณ 2567. https://directory.gdcatalog.go.th/Dataset/Content/b75126ed-e598-497b-ad86-fe5b4dd00f0e

ชนินทร์ โตโพธิ์ไทย. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครในช่วงโควิด 19. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ซานียะฮ์ ช่างวัฒนกุล. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนจังหวัดสตูล. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ดวงกมล สุวรรณล้วน. (2562). ความสนใจและความตระหนักรู้ในการวางแผนการออมเงินกับพฤติกรรมการออมเงิน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดพัทลุง [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธีรนุช เนตรสว่าง, รัชนีกร จันทร์พิมพ์, นภัสสร ทองสุข, และพิมพ์ปวีณ์ มะณีวงค์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมเพื่อความมั่งคั่งของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แห่งรัตนโกสินทร์, 4(3), 55-56.

เนษพร นาคสีเหลือง. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการออมเพื่อเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ปรารถนา หลีกภัย. (2563.) พฤติกรรมการออมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดตรัง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(1), 111-126.

ศิริรัตน์ ศรีพนม. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมเงินของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจันทบุรีจํากัด. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. (2565). รายงานติดตามภาวะเงินฝากและการออม ณ เดือน ต.ค. 2565. https://www.gsb.or.th/gsbresearch/published-works/10761/

สมชาย จันทร์งาม. (2566). ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานที่ทำการปกครองอำเภอพังโคน. [บทสัมภาษณ์]. 19 มิถุนายน.

Alshebami, S. A., & Abdullah, H. S. A. (2021). The Antecedents of Saving Behavior and Entrepreneurial Intention of Saudi Arabia University Students. Educational Sciences: Theory & Practice, 21(2), 67-84.

Bajtelsmit, V. L., & VanDerhei, J. L. (1997). Risk aversion and pension investment choices. Positioning pensions for the twenty-first century, 45(2), 66.

Chalimah, N. S., Martono, S., Muhammad Khafid, M. (2019). The Saving Behavior of Public Vocational High School Students of Business and Management Program in Semarang. Journal of Economic Education, 8 (1) 22 – 29.

Gordon, R. J. (1990). What is new-Keynesian economics?. Journal of Economic Literature, 28(3), 1115-1171.

Hair, Joseph F., Black, William C., Babin, Barry., Anderson, Rolph E., & Tatham, Ronald L. (2006). Multivariate Data Analysis. (6th Ed). Pearson Education.

Hartono, U., & Isbanah, Y., (2022). Students ‘Saving Behaviour: What are the Motives that Influence them to Save?. Jurnal Ekonomi Bisnis dan Kewirausahaan, 11(3), 363-382.

Keynes, J.M. (1936). The general Theory of Employment, Interest and Money. Harcourt Brace Jovanovich.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory. McGraw-Hill.

Sekaran, U. (2003). Research Methods for Business a Skill-building Approach. (4thed). John Wiley and Sons.

Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. (2nd Ed). Harper and Row.