ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าที่เลือกใช้บริการธุรกิจออนไลน์ จังหวัดอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาความพึงพอใจ ความไว้เนื้อเชื่อใจ และความจงรักภักดีของลูกค้าธุรกิจออนไลน์ 2) ศึกษาอิทธิพลของความพึงพอใจ และความไว้เนื้อเชื่อใจที่มีต่อความจงรักภักดีของลูกค้าธุรกิจออนไลน์ 3) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าธุรกิจออนไลน์จังหวัดอุตรดิตถ์ วิจัยเชิงปริมาณกลุ่มลูกค้าที่ซื้อสินค้าออนไลน์จังหวัดอุตรดิตถ์ 400 คน เครื่องมือคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลสถิติพรรณนา ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานสมการโครงสร้างเทคนิค AMOS
ผลการวิจัยผู้ตอบเป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 51 – 60 ปี อาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ รายได้ต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10,000 ให้ความสำคัญกับความจงรักภักดีเป็นอันดับแรก รองลงมาคือความพึงพอใจและความไว้เนื้อเชื่อใจเป็นอันดับสุดท้าย ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยสมการโครงสร้าง ความพึงพอใจของลูกค้า (SATIS) มีผลต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ (TRUST) ค่าสัมประสิทธิ์ (อิทธิพล) เท่ากับ 0.876 ระดับนัยสำคัญ 0.001 สมมติฐานข้อที่ 1 (H1) เป็นจริง สนับสนุนทฤษฎีที่ทบทวนวรรณกรรม ความพึงพอใจของลูกค้า (SATIS) มีผลต่อความจงรักภักดี (LOYALTY) ค่าสัมประสิทธิ์ (อิทธิพล) เท่ากับ 0.659 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.001 สมมติฐานข้อที่ 2 (H2) เป็นจริง สนับสนุนทฤษฎีที่ทบทวนวรรณกรรม ความไว้เนื้อเชื่อใจ (TRUST) มีผลต่อความจงรักภักดี (LOYALTY) ค่าสัมประสิทธิ์ (อิทธิพล) เท่ากับ 0.335 ระดับนัยสำคัญ 0.001 สมมติฐานข้อที่ 3 (H3) เป็นจริง สนับสนุนทฤษฎีที่ทบทวนวรรณกรรม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์
บทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผู้เขียนที่ตีพิมพ์ ยอมรับเงื่อนไขต่อไปนี้:
- ผู้เขียนรักษาลิขสิทธิ์และให้สิทธิ์วารสารในการตีพิมพ์ครั้งแรกพร้อมกับผลงานที่ได้รับใบอนุญาตพร้อมกันภายใต้ Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) ที่อนุญาตให้ผู้อื่นแบ่งปันผลงานโดยรับทราบถึงผลงานของผู้เขียนและ การตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารนี้
- ผู้เขียนสามารถทำข้อตกลงเพิ่มเติมตามสัญญาแยกต่างหากสำหรับการเผยแพร่ผลงานฉบับตีพิมพ์ของวารสารแบบไม่ผูกขาด (เช่น โพสต์ลงในพื้นที่เก็บข้อมูลของสถาบันหรือตีพิมพ์ในหนังสือ) โดยรับทราบการตีพิมพ์ครั้งแรก ในวารสารนี้
- ผู้เขียนได้รับอนุญาตและสนับสนุนให้โพสต์ผลงานของตนทางออนไลน์ (เช่น ในคลังข้อมูลของสถาบันหรือบนเว็บไซต์) ก่อนและระหว่างขั้นตอนการส่งผลงาน เนื่องจากอาจนำไปสู่การแลกเปลี่ยนที่มีประสิทธิผล ตลอดจนการอ้างอิงงานที่ตีพิมพ์เร็วขึ้นและมากขึ้น
References
กนกวรรณ รัตนปรีชาชัย. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความจงรักภักดีของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าออนไลน์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ญรัญรัตน์ มณฑีรรัตน์. (2557). การรับรู้ภาพลักษณ์ธนาคารที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อการใช้บริการผ่านคุณภาพการให้บริการของลูกค้าธนาคารกรุงศรีอยุธยาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และศิลปะ, 8 (2), 877-892.
ธนันดา ผาสุกกานนท์. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อความภักดีในตราสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลกรณีศึกษาร้าน Shopee. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ธิดา อิงคสฤษฎ์ และ ฉัตรพล ไขแสงทอง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความภักดีในการซื้อสินค้าและบริการผ่านออนไลน์ของคนเจเนอเรชั่นเอ็กซ์. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(110), 159-170.
ธีรดล พูพัฒนานุรักษ์, พัสกร ลิมานนท์ดำรง, วราวุฒิ สุกคร และชาตรี ปรีดาอนันทสุข. (2567). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณค่าของแบรนด์ Laptop ของนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี. 3(1), 45-63.
นันทมน ไชยโคตร. (2567). ภาพลักษณ์องค์กรและคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าธนาคารออมสินในเขตบางแค. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พัชนิกา มาสุข, สลิตพรรณ ปัญญานาค และธมนวรรณ ป้อมสนาม. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจในการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศจีนผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้ซื้อรายย่อยในเขตเทศบาลเมืองนครราชสีมา. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร. 6(3), 183-194.
ภาวิณี ทองแย้ม. (2560). ความสัมพันธ์ของคุณภาพการบริการต่อความสำเร็จของธุรกิจ. วารสารเกษมบัณฑิต. 18(1), 219-232.
วิวิศนา โชติศักดิ์. (2562). ความพึงพอใจของผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่น Lazada ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สกุลทิพย์ โยธินนรธรรม. (2557). อิทธิพลของคุณค่าที่รับรู้ และคุณภาพการให้บริการที่มีต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจและการกลับมาบริโภคซ้ำของผู้บริโภคอาหารญี่ปุ่นในร้าน Oishi Grand. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
หัทญา คงปรีพันธุ์. (2557). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าเปรียบเทียบระหว่างธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กับธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
อัมพล ชูสนุก, ณ ชนก มงคลสุข, ฉวีวรรณ ชูสนุก, วทัญญู รัศมิทัต และวิทยา ภัทรเมธากุล. (2561). ปัจจัยขับเคลื่อนที่มีอิทธิพลต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจ การบอกต่อและการกลับมาซื้อซ้ำของลูกค้าร้านปืนศรทอง. Veridian E-Jounal. 11(3), 2024-2055.
Anderson, E. W., Fornell, C., & Lehmann, D. R. (1994). Customer satisfaction, market share, and profitability: Findings from Sweden. Journal of marketing, 58(3), 53-66.
Ariff, M. S. M., Yun, L. O., Zakuan. N., & Ismail, K. (2013). The Impacts of service quality and customer satisfaction on customer loyalty in internet banking. Procedia Social and Behavioral Sciences, 81, 469-473.
Browne and Cudeck. (1993). On tests and indices for evaluating structural models.
Byrne, B. M. (1994). Testing for the factorial validity, replication, and invariance of a measuring instrument: A paradigmatic application based on the Maslach Burnout Inventory. Multivariate Behavioral Research, 29(3), 289-311.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. John Wileg & Sons. Inc.
De Reuver, M., Nikou, S., & Bouwman, H. (2015). The interplay of costs, trust and loyalty in a service industry in transition : The moderating effect of smartphone adoption. Telematics and informatics, 32(4), 694-700.
Hill, N., & Alexander, J. (2017). The handbook of customer satisfaction and loyalty measurement. Routledge.
Hu, L. t., & Bentler, P. M. (1999). Cutoff criteria for fit indexes in covariance structure analysis : Conventional criteria versus new alternatives. Structural equation modeling. A multidisciplinary journal, 6(1), 1-55.
Kaura, V., Durga Prasad, C. S., & Sharma, S. (2015). Service quality, service convenience, price and fairness, customer loyalty, and the mediatingrole of customer satisfaction. International Journal of Bank Marketing, 33(4), 404-422.
Lai, I. K. W. (2015). The cross-impact of network externalities on relationship quality in exhibition sector. International Journal of Hospitality Management, 48, 52-67.
Moss P. (2014). Transformative Change and Real Utopias in Early Childhood Education: A Story of Democracy, Experimentation and Potentiality. Routledge.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). Servqual : A multiple - item scale for measuring consumer perc. Journal of Retailing, 64(1), 12.
Reichheld, F. F., & Schefter, P. (2000). E-loyalty: your secret weapon on the web. Harvard business review, 78(4), 105-113.
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2004). A beginner's guide to structural equation modeling (2nd ed.). Lawrence Erlbaum Associates Pu&Y.
Singh, A, Verma, D., & Bharti, V. (2015). An Examination of the Relationship between Service Quality Dimensions, Overall internet Banking Service Quality and Customer Satisfaction. International Journal of scientific research and management, 3(1)
Ullman, J. B. (2001). Structural equation modeling. In: B. G. Tabachnick, & L. S. Fidell (Eds.), Using multivariate statistics. Pearson Education.