การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อระดับการตัดสินใจซื้องาขี้ม้อนของผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อระดับการตัดสินใจซื้องาขี้ม้อนของผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงรายโดยการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล มีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมการถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ด้านราคา (Price) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) และด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยกลุ่มตัวอย่างมีระดับการตัดสินใจซื้องาขี้ม้อนเพื่อรับประทานครั้งต่อไป ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.94 ซึ่งอยู่ในระดับความคิดเห็นน่าจะซื้อ ส่วนผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อระดับการตัดสินใจซื้องาขี้ม้อนในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีอิทธิพลต่อระดับการตัดสินใจซื้องาขี้ม้อน โดยทั้ง 2 ปัจจัยสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรต่อระดับการตัดสินใจซื้องาขี้ม้อน ได้ร้อยละ 42.5
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์
บทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผู้เขียนที่ตีพิมพ์ ยอมรับเงื่อนไขต่อไปนี้:
- ผู้เขียนรักษาลิขสิทธิ์และให้สิทธิ์วารสารในการตีพิมพ์ครั้งแรกพร้อมกับผลงานที่ได้รับใบอนุญาตพร้อมกันภายใต้ Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) ที่อนุญาตให้ผู้อื่นแบ่งปันผลงานโดยรับทราบถึงผลงานของผู้เขียนและ การตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารนี้
- ผู้เขียนสามารถทำข้อตกลงเพิ่มเติมตามสัญญาแยกต่างหากสำหรับการเผยแพร่ผลงานฉบับตีพิมพ์ของวารสารแบบไม่ผูกขาด (เช่น โพสต์ลงในพื้นที่เก็บข้อมูลของสถาบันหรือตีพิมพ์ในหนังสือ) โดยรับทราบการตีพิมพ์ครั้งแรก ในวารสารนี้
- ผู้เขียนได้รับอนุญาตและสนับสนุนให้โพสต์ผลงานของตนทางออนไลน์ (เช่น ในคลังข้อมูลของสถาบันหรือบนเว็บไซต์) ก่อนและระหว่างขั้นตอนการส่งผลงาน เนื่องจากอาจนำไปสู่การแลกเปลี่ยนที่มีประสิทธิผล ตลอดจนการอ้างอิงงานที่ตีพิมพ์เร็วขึ้นและมากขึ้น
References
เจษฎา จงใจดี และ อดิเรก ปัญญาลือ. (2559). งาม้อน มหัศจรรย์โอเมก้าจากยอดดอย. สืบค้น 10 เมษายน2565, จาก https://www.hrdi.or.th/Articles/Detail/9.
ฉัตราพร เสมอใจ และ ฐิตินันท์ วารีวนิช. (2551). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ณฐา เศวตนรากุล, รังสรรค์ แสงสุข, ธัญปวีณ์ รัตน์พงศ์พร, และ ทวีศักดิ์ รูปสิงห์. (2559). แบบจำลองความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์กาแฟสดของผู้บริโภคชาวไทย. วารสารพัฒนาเทคนิคการศึกษา, 28(98), 113-118.
ณรงค์ ศรีโยธิน. (2550). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพของกลุ่มผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
นวลศรี โชตินันทน์. (2555). งาม้อนพืชวิเศษสุดให้โอเมก้า 3 ทดแทนปลาทะเลน้ำลึก. สืบค้น 5 มีนาคม 2565, จาก http://lib3.dss.go.th/fulltext/techno_file/CF95/CF95(A18).pdf.
วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2563). หลักการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศศิมา หรือสมบูนณ์, สมบูรณ์ ศรีอนุรักษ์วงศ์ และประภัสสร วิเศษประภา. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อธัญพืชกราโนล่า ไดมอนด์ เกรนส์ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อภิชาต มงคลโรจน์กุล. เจ้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด ดอยตุงธัญพืช. (20 กุมภาพันธ์ 2564). สัมภาษณ์.
Kotler, P. & Keller K. L. (2016). Marketing Management (15th global edition). Edinburgh: Pearson Education.