รูปแบบการเขียนบทความ
รูปแบบการเขียนบทความ
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการรับใช้สังคมได้กำหนดระเบียบการส่งต้นฉบับไว้ให้ผู้เขียนยึดเป็นแนวทางในการส่งต้นฉบับสำหรับการตีพิมพ์ลง “วารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา” และกองบรรณาธิการวารสารวิชาการรับใช้สังคมสามารถตรวจสอบต้นฉบับก่อนการตีพิมพ์ เพื่อให้วารสารมีคุณภาพสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ โดยวารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตั้งแต่ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2559 จะเป็นวารสารเพื่อเผยแพร่เพื่อพัฒนาสังคมและส่งเสริมให้นักวิชาการด้านรับใช้สังคมในหน่วยงานต่างๆ ได้มีแหล่งนำเสนอผลงานทางวิชาการสู่สาธารณะ รองรับงานวิชาการด้านรับใช้สังคม ทั้งงานวิจัยและงานบริการวิชาการ
ดาวน์โหลด
ดาวน์โหลด:
การเตรียมต้นฉบับบทความ มีรายละเอียดดังนี้
รูปแบบการพิมพ์
- ตัวอักษร : ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK โดยชื่อบทความใช้อักษรตัวหนา ขนาด 18 ชื่อผู้เขียน ใช้อักษรตัวปกติ ขนาด 15 หัวข้อหลักใช้อักษรตัวหนา ขนาด 15 และเนื้อเรื่องใช้อักษรตัวปกติ ขนาด 15
- การตั้งค่าหน้ากระดาษ : บน ล่าง ซ้ายและขวา ขนาด 1 นิ้ว
- ความยาวของเนื้อหา : ไม่เกิน 10 หน้า รวมรูปภาพ ตาราง แผนภูมิ และเอกสารอ้างอิง
- รูปแบบการใช้ภาษาอังกฤษในเนื้อเรื่องภาษาไทย
- ชื่อวิทยาศาสตร์ คำขึ้นต้นให้ใช้อักษรตัวใหญ่ และใช้ตัวอักษรเอียง เช่น Uglena acus
- ชื่อเฉพาะให้ขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่ทุกคำ เช่น Berdmann, Lemmermann
- ภาษาอังกฤษทั้งในและนอกวงเล็บให้ใช้ตัวเล็ก เช่น random complete block design
- ตัวย่อให้ใช้อักษรตัวใหญ่ทั้งหมด และควรมีคำเต็มบอกไว้ในการใช้ครั้งแรก เช่น (random complete block design, RCBD)
การเรียงลำดับเนื้อหา
- ชื่อเรื่อง : ใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษเฉพาะตัวอักษรแรกของชื่อเรื่องเท่านั้นที่ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ ยกเว้นชื่อเฉพาะ
- ชื่อผู้ดำเนินโครงการและผู้ร่วมดำเนินโครงการ : เฉพาะผู้ดำเนินโครงการหลักให้เพิ่ม * และผู้ดำเนินโครงการทุกคนให้ระบุตำแหน่ง สถานที่ทำงาน อีเมล์ เบอร์โทรศัพท์ และ เบอร์โทรสาร
- บทคัดย่อ : (ภาษาไทยตามด้วยภาษาอังกฤษ) เป็ยการสรุปสาระสำคัญ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ ผลการดำเนินงาน การนำไปใช้ และการปภิปรายผลที่กระชับและชัดเจน ใช้ภาษารัดกุมเป็นประโยคสมบูรณ์และเป็นร้อวแก้ว ไม่แบ่งเป็นข้อๆ โดยบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภษาอังกฤษ ไม่ควรเกิน 1 หน้ากระดาษขนาด A4 และให้ระบุคำสำคัญ (keyword) ไว้ท้ายบทคัดย่อในแต่ละภาษา
- บทนำ : ชี้ให้เห็นความสำคัญของเรื่องที่ทำ เขียนให้สั้น กระชับ ไม่เกิน 15-20 บรรทัด ค้นคว้าเพิ่มเติมว่ามีผู้ใดทำงานในลักษณะใกล้เคียงแล้วบ้าง ได้ผลอย่างไร พร้อมระบุแนวทางการวิจัย/กระบวนการดำเนินการบริการวิชาการ จุดประสงค์ เขียนเป็นความเรียงหรือจัดลำดับความสำคัญแล้วจัดเรียงเป็นหัวข้อ (อาจกล่าวถึงข้อ 1. สภาพการณ์ก่อนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น)
- วิธีดำเนินงาน : อธิบายวิธีดำเนินโครงการให้เห็นขั้นตอน กระบวนการ ระบุขอบเขตของการวิจัย วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างให้ชัดเจน ในลักษณะที่หากมีผู้อื่นต้องการทำวิจัยในลักษณะเดียวกันสามารถอ่านและนำไปปฏิบัติได้ (กล่าวถึงข้อ 2.การมีส่วนร่วมและการยอมรับของสังคมเป้าหมาย 3.กระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น 4.ความรู้ความเชี่ยวชาญที่ใช้ในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นหรือใช้องค์ความรู้อะไรไปทำบ้าง)
- ผลการดำเนินงาน : อธิบายผลที่เกิดจากโครงการโดยตรง ไม่มีการแสดงความคิดเห็นในส่วนนี้ อาจมีภาพประกอบ แผนภูมิตาราง (อาจอธิบายถึงข้อ 2.การมีส่วนร่วมและการยอมรับของสังคมเป้าหมาย ข้อ 6.ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการลงไปดำเนินโครงการ)
- การนำไปใช้ประโยชน์ : อธิบายให้เห็นว่าผลงานดังกล่าวได้นำไปใช้ประโยชน์อย่างไร ใครคือผู้ใช้ และมีกระบวนการผลักดัน ผลงานดังกล่าวสู่การใช้ประโยชน์ทั้งเชิงนโยบาย เชิงพาณิชย์ และเชิงสาธารณะอย่างไร (อาจอธิบายถึงข้อ 2.การมีส่วนร่วมและการยอมรับของสังคมเป้าหมายและข้อ 6ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการลงไปดำเนินโครงการ)
- อภิปรายผล : สรุปและอ้างอิงให้เห็นว่าผลการดำเนินงานดังกล่าวได้องค์ความรู้ใหม่ นวัตกรรมหรือทางเลือกใหม่ให้แก่พื้นที่อย่างไร และอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากผลการดำเนินงานให้เป็นรูปธรรม รวามทั้งเสนอและการทำงานในขั้นต่อไป (อาจอธิบายข้อ 5.การคาดการณสิ่งที่จะตามมาหลังจากการเปลี่ยนแปลงนั้น ข้อ 7.แนวทางการติดตามและธำรงรักษาพัฒนาการที่เกิดขึ้นให้คงอยู่ต่อไป)
- บรรณานุกรม : การรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดที่ผู้เขียนได้ใช้อ้างอิงในการเขียนผลงานนั้น ๆ จัดเรียงรายการตามลําดับอักษรชื่อผู้แต่ง ภายใต้หัวข้อ เอกสารอ้างอิง สําหรับผลงานวิชาการภาษาไทยหรือ Reference สําหรับผลงานวิชาการ ภาษาอังกฤษ โดยใช้รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association) ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิงมีดังนี้
- หนังสือ
ชื่อผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. ชื่อเรื่อง. (ฉบับพิมพ์). สถานที่พิมพ์: ผู้จัดพิมพ์.ตัวอย่าง
พรพิมล ตรีโชติ. 2542. ชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลพม่า. กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. - บทความ
ชื่อผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. ชื่อบทความ. ในชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อเรื่อง (ฉบับพิมพ์หน้าที่ปรากฏบทความ)
สถานที่พิมพ์: ผู้จัดพิมพ์.ตัวอย่าง
เสรี ลีลาภัย. 2542. เศรษฐกิจชาตินิยมในประเทศกําลังพัฒนาและสถานการณ์ในประเทศไทย. ณรงค์
เพ็ชรประเสริฐ (บรรณาธิการ), 1999 จุดเปลี่ยนแห่งยุคสมัย. 90-141. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. - บทความในวารสาร
ชื่อผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. “ชื่อบทความ.” ชื่อวารสาร. ปีที่ (ลําดับที่), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ.ตัวอย่าง
พุทธชาด โปธิบาล และนานันท์ ตรงดี. 2541. “สถานะของภาษาตากใบในภาษาถิ่น.” วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.4, 2: 167-187. - สาระสังเขปจากฐานข้อมลู CD-ROM
ชื่อผู้แต่ง. ปีที่พิมพ??. ชื่อบทความ (ซีดีรอม). ชื่อวารสาร, ปีที่ (ลําดับที่), เลขหน้าที่ปรากฏบทความในวารสาร, สาระสังเขปจาก: ชื่อฐานข้อมูลและหมายเลขเอกสารเพื่อการค้นตัวอย่าง
Preston, W. 1982. Poetry ideas in teaching literature and writing to foreign student (CD-ROM). TESOL quarterly, 16, 489-502. Abstract from: Dialog File: ERIC Item: EJ274529. - วิทยานิพนธ์
ชื่อผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. ชื่อวิทยานิพนธ์. ระดับวิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์มหาวิทยาลัย.ตัวอย่าง
เบ็ญจรัช เวชวิรัช. 2541. การศึกษาปัจจยที่มีผลกระทบต่อมูลค่าการให้สินเชื่อ เพื่อการส่งออกและนําเข้าของสถาบันการเงินไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาเศรษฐศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. - แหล่งสารสนเทศบนอินเตอร์เน็ต
ชื่อผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. “ชื่อบทความ.” ออนไลน์ ได้จาก: หรือ online Avaliable at: แหล่งที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต.ตัวอย่าง
สมชาย นาประเสริฐ, 2546. เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้. ออนไลน์ ได้จาก http://ku.ac.th/e-magazine/june46/it/knowledge.thme
indick,W.2002. Gender Differences in Moral Judement: Is Non-Consequential Reasoning a Factor?. online Avaliable at: http://www.uiowa.edu/grpproc/crisp/crisp5.2htm.