Developing the value of Handicrafts to the value of Craftsmanship through the Community Based Creative Economy and Innovation
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาคุณค่างานหัตถกรรมสู่มูลค่างานหัตถศิลป์ด้วยนวัตกรรมชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมจักสานใบค้อ ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและยกระดับงานหัตถกรรมท้องถิ่นให้มีมูลค่าสูงสุดทางเศรษฐกิจ พบปัญหาได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์มีรูปแบบเดิม ๆ ขายราคาต่ำกว่าต้นทุนที่ผลิต ไม่สร้างแรงจูงใจให้กลุ่มลูกค้า 2) ขาดแรงงานในการผลิต 3) ขาดทักษะฝีมือที่ประณีต 4) วัตถุดิบไม่เพียงพอต่อการผลิตตลอดทั้งปี 5) ไม่ทำบัญชี คิดต้นทุนไม่ครอบคลุม และ 6) ขายผ่านพ่อค้าคนกลาง ผู้วิจัยจึงดำเนินการแก้ปัญหา ดังนี้ 1) ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ Hight End Product 2) ฝึกสมรรถนะการผลิตเน้นความประณีตของชิ้นงาน เพื่อเพิ่มกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ 3) ฝึกทักษะฝีมือแรงงานผู้ผลิต โดยถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ผลิต 4) สร้างโรงเรือนพลังงานแสงอาทิตย์ตากเส้นค้อ (ชุมชนตัดเส้นค้อในฤดูฝน) เพื่อเก็บรักษาคุณภาพวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต และลดปัญหาเศษทิ้ง 5) อบรมให้ความรู้การทำต้นทุนวัตถุดิบที่คิดค่าแรงในการผลิต 6) สร้างเครือข่ายภาคีภายนอกชุมชน ได้แก่ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (จำกัดมหาชน) และกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อเพิ่มช่องทางในการขาย หลักการสำคัญในการพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ “หัตถกรรม” สู่ “หัตถศิลป์” ควรให้ความสำคัญกับการต่อยอด และนำองค์ความรู้ไปใช้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ และสร้างโอกาสต่อยอดเชิงพาณฺชย์อย่างเป็นรูปธรรม สร้างการรับรู้ (Awareness) สร้างความเข้าใจ (Knowledge) ส่งเสริมให้เกิดการนำเอาไปใช้ (Usage) สืบสานและถ่ายทอดองค์ความรู้สู่คนรุ่นต่อไป
Article Details
This article is published under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License (CC BY-NC-ND 4.0), which allows others to share the article with proper attribution to the authors and prohibits commercial use or modification. For any other reuse or republication, permission from the journal and the authors is required.