แนวทางการพัฒนาการใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากลำต้นกัญชา ไร่อารมณ์ดี ตำบลดงมหาวัน. อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

Viboonporn Wutthikun

บทคัดย่อ

แนวทางการพัฒนาเศษเหลือจากการปลูกกัญชา ไร่อารมณ์ดี ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายแนวทางการพัฒนาเศษเหลือจากการปลูกกัญชาโดยมีวิธีการดำเนินงาน คือ 1.การสำรวจบริบทพื้นที่ (Survey) 2.การสนทนากลุ่ม (Focus group) 3. ออกแบบกระบวนการ (Upcycle) 4. การถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology transfer) และ 5. ประเมินผลลัพธ์หลังจากถ่ายทอดเทคโนโลยี (Evaluate) ผลการสังเคราะห์และประเมินศักยภาพร่วมกันกับตัวแทนผู้ประกอบการ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และผู้เชี่ยวชาญ พบว่าแนวทางการพัฒนาเศษเหลือจากการปลูกกัญชานั้นได้แบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้ 1.ก้านและลำต้น โดยส่วนของเปลือกต้นกัญชาสามารถนำมาผลิตเป็นเส้นใย  แกนต้นกัญชาสามารถนำมาเป็นสารเติมเต็มให้กับบล็อกช่องลมสำหรับงานตกแต่งที่ไม่ต้องรับน้ำหนักเพื่อลดปริมาณของซีเมนต์และลดน้ำหนักของบล็อกช่องลม 2. ใบสามารถทำเป็นชาจากใบกัญชา 3. กิ่งก้านที่เป็นเศษเล็กๆ สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักที่ใช้ในไร่เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายค่าปุ๋ยได้ และในการดำเนินงานในครั้งนี้คณะนักวิจัยและวิทยากรได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่องกระบวนการการทำเส้นใยจากเปลือกลำต้นกัญชาให้กับสมาชิกและกลุ่มเครือข่ายไร่อารมณ์ดี โดยผลประเมินผลลัพธ์หลังจากถ่ายทอดเทคโนโลยีพบว่า สมาชิกและกลุ่มเครือข่ายไร่อารมณ์ดีมีความพึงพอใจในระดับดีจากการจัดโครงการครั้งนี้เนื่องจากทำให้ทางกลุ่มสามารถมองเห็นแนวทางในการจัดการขยะของชุมชน สามารถลดการเผาขยะที่เกิดจากเศษเหลือทางการเกษตร และยังมองเห็นช่องทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เกิดรายได้กับชุมชนได้ในอนาคต

Article Details

บท
Articles