รูปแบบการสื่อสารวัจนปฏิบัติศาสตร์ในบริบทวิถีชีวิตใหม่: กรณีศึกษาผู้ให้บริการร้านอาหารและผู้ให้บริการรับและส่งอาหาร

Main Article Content

ศศิวิมล ชุดขัน
กัลยารัตน์ เศวตนันทน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการรูปแบบการสื่อสารวัจนปฏิบัติศาสตร์โดยใช้หลักการแนวคิดวัจนปฏิบัติศาสตร์(Pragmatics) ของ Grice และออกแบบชุดภาษาสื่อสารวัจนปฏิบัติศาสตร์สำหรับผู้ให้บริการในร้านอาหารและผู้ให้บริการรับและส่งอาหารในบริบทวิถีชีวิตใหม่ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยวิธีเฉพาะเจาะจง และให้บริการในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย ผู้ให้บริการในร้านอาหารและผู้ให้บริการรับและส่งอาหารจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบการสังเกตการณ์ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความต้องการการใช้กลวิธีการสื่อสารเชิงวัจนปฏิบัติศาสตร์ และแบบการประเมินคุณภาพของนวัตกรรมภาษาจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ  ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มให้บริการในร้านอาหารและผู้ให้บริการรับและส่งอาหาร ต้องการพัฒนาภาษาในการกล่าวขอบคุณและกล่าวอำลาเป็นภาษาอังกฤษ ลำดับรองลงมาคือ การบอกราคาอาหารและวิธีการชำระเงิน การขอร้องให้ลูกค้าพูดซ้ำเมื่อได้ยินไม่ชัดเจนเป็นภาษาอังกฤษ รูปแบบภาษาที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 2 รูปแบบ ได้แก่รูปแบบภาษาสำหรับพนักงานร้านอาหารและรูปแบบภาษาสำหรับผู้ให้บริการรับและส่งอาหารผ่าน จากการประเมินความพึงพอใจพบว่ารูปแบบภาษาที่พัฒนาขึ้นมีการลำดับเนื้อหามีลำดับขั้นตอนที่เข้าใจง่ายต่อการนำไปใช้  นำเสนอเนื้อหาถูกต้อง ชัดเจน และมีเนื้อหาทันสมัย เหมาะสมกับสถานการณ์วิถีปกติใหม่


คำสำคัญ:  การสื่อสารวัจนปฏิบัติศาสตร์, บริบทวิถีชีวิตใหม่, ผู้ให้บริการร้านอาหาร, ผู้ให้บริการรับและส่งอาหาร    


 


 

Article Details

บท
Articles