การศึกษาปัจจัยส่วนผสมของอิฐมอญที่มีส่วนผสมของเปลือกหอยแครงเผา และถ่านไม้เพื่อการปรับปรุงกระบวนการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม

Main Article Content

Thamma Jairtalawanich

บทคัดย่อ

การศึกษาปัจจัยส่วนผสมของอิฐมอญที่มีส่วนผสมของเปลือกหอยแครงเผาและถ่านไม้เพื่อการปรับปรุงกระบวนการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม  ภายใต้โครงการแผนบูรณาการเรื่อง การบริหารจัดการขยะโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือใช้สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาชุมชนครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือใช้สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาชุมชน  และเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้หรือขยะเหลือทิ้งในชุมชนสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและช่วยพัฒนาชุมชนได้  โดยในงานวิจัยนี้มีขอบเขตการศึกษา คือ การนำวัสดุเหลือใช้หรือขยะเหลือทิ้งมาพัฒนาเป็นส่วนผสมในอิฐมอญโดยใช้ถ่านไม้และเปลือกหอยเพื่อทดสอบเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ภายในชุมชนลาดหญ้า และ ชุมชนหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เท่านั้น  ในการสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบอิฐมอญจากเศษขยะเหลือใช้ โดยการออกแบบการทดลองสัดส่วนผสมของเปลือกหอยแครงและเศษถ่านไม้ใส่ในอิฐมอญตัวอย่างทั้ง 10 สูตรที่แตกต่างกันออกไป และทดสอบพิจารณาจากคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติทางกล พบว่าอิฐมอญที่มีสัดส่วนเปลือกหอยแครงและเศษถ่านไม้ที่เหมาะสมที่สุด คือ สูตรที่มีสัดส่วนเปลือกหอยแครงร้อยละ 10 (45 กรัม) สัดส่วนเศษถ่านไม้ร้อยละ 5 (22.5 กรัม) และได้นำไปสร้างบ่อทดสอบเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของอิฐมอญในการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม โดยการออกแบบบ่อทดสอบขนาดความกว้าง 1 เมตร ความยาว 2 เมตร สูง 1 เมตร เปรียบเทียบกับอิฐมอญทั่วไป และรูปแบบการก่อสร้างแบบฉาบปูนและไม่ฉาบปูน  ซี่งผลสรุปการศึกษาประสิทธิภาพของอิฐมอญต้นแบบสามารถสรุปได้ว่า ค่า pH ของบ่ออิฐมอญต้นแบบให้ค่า pH อยู่ในช่วงที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 7.87 ค่าที่เหมาะสมอยู่ระหว่างค่า 7.5 – 8.5 จากการทดสอบสมมติฐานความแปรปรวน พบว่าประเภทของบ่อเพาะเลี้ยงและระยะเวลาในการวัดอัตราการเจริญเติบโตของกุ้งก้ามกรามของบ่อเพาะเลี้ยงด้วยค่าความยาวของลำตัว ให้ค่า P-value น้อยกว่านัยสำคัญที่ 0.05 จึงสรุปได้ว่าทั้งประเภทของบ่อเพาะเลี้ยงทั้ง 4 แบบและระยะเวลาเพาะเลี้ยงที่แตกต่างกันมีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของกุ้งก้ามกรามที่แตกต่างกัน ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และเมื่อพิจารณาที่ความยาวเฉลี่ยของลำตัวกุ้งก้ามกรามของบ่ออิฐมอญต้นแบบไม่ฉาบปูนให้ค่าดีที่สุด และบ่ออิฐมอญฉาบปูนให้ค่าดีรองลงมา โดยมีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยร้อยละ 28.23 และ 21.96 ตามลำดับ นั่นหมายความว่าอิฐต้นแบบทดสอบที่ทำมาจากการผสมสัดส่วนเปลือกหอยแครงร้อยละ 10 (45 กรัม) สัดส่วนเศษถ่านไม้ร้อยละ 5 (22.5 กรัม) ให้ประสิทธิภาพที่ดีต่อการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามสูงกว่าอิฐมอญทั่วไปอยู่ถึงร้อยละ 83.79

Article Details

บท
Articles