กระบวนการกระจายสินค้าด้วยรถพุ่มพวงสู่การยกระดับรายได้ครัวเรือนยากจน ตำบลสะแกโพรง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

สรรเพชร เพียรจัด
เชาวลิต สิมสวย
อุดมพงษ์ เกษศรีพงษ์ศา
วิษณุ ปัญญายงค์

บทคัดย่อ

การบูรณาการความร่วมมือแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยปรากฏการณ์รถพุ่มพวง ถือว่ารูปแบบการกระจายสินค้าที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติในตำบลสะแกโพรง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นกลไกการแก้ไขปัญหาด้านการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทรัพยากรด้วยตัวของชุมชนเอง ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าภายในชุมชน เกิดหมุนเวียนทางการเงิน การหมุนเวียนของทรัพยากรท้องถิ่น และที่สำคัญเป็นกลไกที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มของสินค้าในชุมชนได้อย่างเป็นธรรมชาติ จากกลไกดังกล่าวก่อให้เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตของครัวเรือนยากจนในอำเภอเมืองจังหวัดบุรีรัมย์ให้ดีขึ้น โดยอาศัยห่วงโซ่คุณค่าและกลไกการขับเคลื่อนของกลุ่มผู้ประกอบการรถพุ่มพวงที่มีอยู่เป็นต้นทุนสำคัญในการขับเคลื่อน โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1.เก็บข้อมูลห่วงโซ่มูลค่ากระบวนการกระจายสินค้าโดยรถพุ่มพวง 2.การสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาช่องว่างและเติมเต็มกระบวนการกระจายสินค้าโดยรถพุ่มพวง 3.วางระบบปฏิบัติการยกระดับรายได้ครัวเรือนยากจน ด้วยวิธีการดำเนินงานใน 3 กิจกรรมสำคัญคือ 1.การจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าชุมชน (Community Distribution Centre) 2.การพัฒนา Application PoomPong  3.การจัดทำระบบสวัสดิการให้แก่รถพุ่มพวง  ผลการดำเนินงานพบว่า  1.ศูนย์กระจายสินค้าชุมชน (Community Distribution Centre) โดยศูนย์ดังกล่าวมีบทบาทหน้าที่ไปรวบรวมสินค้าตาม Order นำมาคัดแยกใส่บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม  แล้วนำขึ้นรถพุ่มพวงที่จะกระจายตัวออกไปในแต่ละเส้นทาง ส่งผลให้เกิดการย้ายถิ่นฐานไปทำงานที่อื่นลดลง เกิดแหล่งงานที่มั่นคงในพื้นที่ใกล้บ้าน และเกิดความรักความอบอุ่นในครอบครัว  2.Application PoomPong ทำให้ผู้ประกอบการรถพุ่มพวงมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการมีลูกค้ากลุ่มใหม่หรือกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานที่ใช้ Application ในการ Order สินค้า จากเดิมที่มีลักษณะการใช้เงินสดแลกสินค้าแบบ Face to Face ซึ่งทำให้มีรายได้จากลูกค้ากลุ่มสูงอายุในเส้นทาง (Roots) ที่เร่ขายเป็นส่วนใหญ่  3. ระบบสวัสดิการให้แก่รถพุ่มพวง เป็นการจูงใจให้รถพุ่มพวงเข้ามาร่วมดำเนินมากขึ้นจากเดิม 16 คันเพิ่มขึ้นเป็น 46 คัน จึงก่อให้เกิดการกระจายสินค้าไปยังพื้นที่อื่นได้ในปริมาณที่มากขึ้นตามมา  ผลจากการดำเนินงานสามารถยกระดับรายได้ครัวเรือนยากจนจากจำนวน 24 ครัวเรือนเพิ่มขึ้นเป็น 142 ครัวเรือนให้มีรายได้เพิ่มขึ้นและต่อเนื่องเฉลี่ย 14,600 บาทต่อเดือน  ซึ่งถือว่ามีความเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดความมั่นคงมั่งคั่งต่อไปได้  และถ้าหากมีการลงทุนขยายผลการดำเนินงานไปยังพื้นที่อื่นในบริบทที่ใกล้เคียงกัน  ก็จะส่งผลให้ครัวเรือนยากจนในพื้นที่ลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งเป็นผลมาจากมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมในเบื้องต้น

Article Details

บท
Articles

References

Buranasak Madmai, (2014). There are 5 subsystems in the composition of product distribution.

Chaiwat Chutrakun, (2016). Theory and principles of distribution and distribution management.

Chaiyaporn Wongphisarn, (2014). Theory of Product Distribution and Transportation Efficiency Efficiency Utilization.

Pisamai Prachanan and colleagues (2021). Accurate and comprehensive solution to poverty problems to reduce inequality in Buriram Province.