โคมลอยล้านนาจำลองเพื่ออนุรักษ์สภาพแวดล้อมและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา เทศกาลโคมล้านนาปูจาผางประทีปหนองบัวพระเจ้าหลวง ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี 2565

Main Article Content

วีระศักดิ์ สวนจันทร์
กอปรพร นุกูลคาม
เปศล อัศวปรมิตชัย
ศิขรินทร์ มัลลิกาวงศ์

บทคัดย่อ

เทศบาลตำบลเชิงดอย ได้จัดโครงการประพณียี่เป็งและปล่อยโคมลอยเป็นประจำทุกปี ซึ่งมีความเชื่อว่าการปล่อยโคมลอยเป็นการปล่อยทุกข์ แต่โคมลอยที่ตกลงมากลับสร้างความเดือดร้อนให้กับสภาพแวดล้อม ผู้วิจัยและเทศบาลตำบลเชิงดอย เห็นปัญหาดังกล่าวจึงมีแนวคิดในการออกแบบพื้นที่จัดแสดงโคมลอยล้านนาจำลอง เพื่อสืบสานประเพณีอันดีงามของชุมชน ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้กับชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบพื้นที่จัดแสดงการรับรู้มิติสัมพันธ์ของโคมลอยให้มีการจัดวางที่ต่างกัน ลดปริมาณขยะจากการปล่อยโคมลอย และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ผู้วิจัยเสนอแนวคิดในการออกแบบ สำรวจพื้นที่ สร้างแบบจำลองมุมมองเพื่อสร้างบรรยากาศของการปล่อยโคมลอยโดยมีบริบทของการสะท้อนน้ำในหนองบัวพระเจ้าหลวง และพื้นฉากหลังที่เป็นแนวเขาของดอยสะเก็ด กำหนดมุมมองและจุดถ่ายภาพ ปลายสะพาน มุมบิดสะพาน และบนตลิ่ง เลือกใช้การสร้างมิติมุมมองด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ของขนาดวัตถุที่มีระยะห่าง ยิ่งไกลมากจะมีขนาดเล็กลง และเสริมมิติระยะด้วยขนาดโคมลอย ความเข้มของแสงที่ต่างกัน ซึ่งการจัดแสดงดังกล่าวมีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจเข้ามาชมจำนวนมาก ทั้งสื่อออนไลน์และสื่อท้องถิ่นต่างชื่นชมกับแนวคิดในการจัดแสดงครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าการจัดแสดงครั้งนี้สามารถสืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของล้านนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหนองบัวพระเจ้าหลวง ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

Article Details

บท
Articles