การศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนตลาดบางหลวง จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

กานต์นภัส ช้ำเกตุ

บทคัดย่อ

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามนโยบายภาครัฐ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้กับชุมชน ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่คงเอกลักษณ์วัฒนธรรมมาอย่างยาวนาน อีกทั้งความหลากหลายทางวัฒนธรรมทำให้สถานที่ท่องเที่ยวแต่ละแห่งมีเรื่องราวแตกต่างกันไป แต่ด้วยลักษณะหรือวิถีชีวิตแบบคนไทยย่อมมีความคล้ายคลึงของวัฒนธรรมอยู่บ้าง การสร้างอัตลักษณ์การท่องเที่ยวที่สะท้อนความเป็นตัวตนของชุมชนตลอดจนสร้างความสนใจและความดึงดูดนักท่องเที่ยวจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจเข้ามายังแหล่งท่องเที่ยว งานวิจัยนี้ได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลทางวัฒนธรรม วิเคราะห์อัตลักษณ์ชุมชนตลาดบางหลวง จังหวัดนครปฐม เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนตลาดบางหลวง จังหวัดนครปฐม โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลในพื้นที่ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ซึ่งพิจารณาจากบุคคลดั่งเดิมและอาศัยอยู่ในพื้นที่ จำนวน 10 ท่าน เพื่อสะท้อนมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน  ผลงานวิจัยพบว่า อาคารบ้านเก่าเหล่าเต๊งไม้  ศาลเจ้าแม่ทับทิม และเครื่องดนตรีจีนโบราณ การแห่อาม่าหรือเจ้าแม่ทับทิมช่วงเทศกาลตรุษจีน อาหารท้องถิ่น (ชุนเปี๊ยะ) และการแสดงดนตรีจีน เป็นสิ่งที่สะท้อนอัตลักษณ์ชุมชน สามารถนำมาต่อยอดการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในมิติต่างๆ เช่น การสร้างหลักสูตรอบรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารพื้นถิ่นและดนตรีจีน และสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนของชุมชนได้อนาคตได้

Article Details

บท
Articles

References

มนรัตน์ ใจเอื้อ และคณะ.2558. “รูปแบบการตลาดเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม: ชุมชนบางหลวง ตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม”. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 12(3), 12-24.

พงษ์ศิริ เทพวงษ์. 2553. “ประวัติศาสตร์ชุมชนตลาดบางหลวง ร.ศ.122 อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิชัย สดภิบาล และคณะ.2558. “กลยุทธ์การจัดการอย่างยั่งยืนสำหรับการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมของตลาดพื้นถิ่นที่มีอายุมากกว่า 100 ปี”. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 14(1), 17-24.

ขวัญยุพา ศรีสว่าง และ มัสลิน บัวบาน.2557. “การพัฒนารูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของตลาดบางหลวง อ.บางเลน จ.นครปฐม”. วารสารวิทยาการจัดการ.

ชาคริต สิทธิฤทธิ์.2559 “จับต้องได้ - จับต้องไม่ได้ : ความไม่หลากหลาย ในความหลากหลายของมรดกทางวัฒนธรรม.” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 8(2), 141-160.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2565. แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น การท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2566, จาก สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ: http://nscr.nesdc.go.th/masterplans-05/

ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน. 2556. “แนวคิด CBT”. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2566, from CBT-N-CC | Thailand CBT Network Coordination Center ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน: https://thaicommunitybasedtourismnetwork.wordpress.com/cbt/concept/