การใช้คติชนชุมชนเป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านกองกาน ต.แม่ศึก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ พิศาพิมพ์ จันทร์พรหม, นริศ กำแพงแก้ว, และ กฤต พันธุ์ปัญญา

Main Article Content

พิศาพิมพ์ จันทร์พรหม
นริศ กำแพงแก้ว
กฤต พันธุ์ปัญญา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้คติชนชุมชนเป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนาประชากรในพื้นที่ตามกลุ่มเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ประกอบด้วยกลุ่มเยาวชน กลุ่มวัยกลางคน และกลุ่มวัยผู้สูงอายุ รวมทั้งหมด 35 คน งานวิจัยนี้เน้นการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อประเมินและพัฒนาการสื่อสารคติชนชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน รวมถึงการตรวจสอบรายการเกี่ยวกับคติชนชุมชน เพื่อใช้ในการจัดการท่องเที่ยว การสนทนากลุ่มย่อย การสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง และโปรแกรมการสื่อสารคติชนชุมชน โดยใช้โปรแกรมการท่องเที่ยวคติชนชุมชน ผลการดำเนินการวิจัยและพัฒนา ดังนี้ 1) ผลการวิจัยแสดงว่าคติชนชุมชนมีศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลประเภทต่าง ๆ เช่น ข้อมูลปาฐะและลายลักษณ์, วัฒนธรรมวัตถุ, ประเพณีสังคมพื้นบ้าน, และการแสดงศิลปะพื้นบ้าน มีร้อยละ 80 ของประชากรในชุมชนบ้านกองการ จำนวน 325 คน เห็นชอบการใช้คติชนชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยร้อยละ 80 ให้การสนับสนุนในการพัฒนาคติชนชุมชนเพื่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน 2) การพัฒนาการสื่อสารคติชนชุมชน ผลคะแนนหลังกระบวนการพัฒนาการสื่อสารคติชนชุมชนโดยใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือแสดงว่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น แสดงถึงความสำเร็จในกระบวนการพัฒนาการสื่อสารคติชนชุมชนโดยใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือ และ 3) การพัฒนาเครื่องมือสื่อสารเพื่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายในด้านลักษณะของสื่อ มาตรฐานการออกแบบ มาตรฐานการใช้เทคนิค และความมีสุนทรียภาพของสื่ออยู่ในระดับดี ทั้งนี้เครื่องมือสื่อสารดังกล่าวถือเป็นส่วนสำคัญในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในชุมชนบ้านกองกาน ซึ่งมีความสำเร็จและความพึงพอใจในการใช้งานเครื่องมือนี้

Article Details

บท
Articles