การรับฟังความคิดเห็นของบุคคลผู้มีความพิการในกระบวนการตรากฎหมาย: บทวิเคราะห์ตามแนวทางของพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมาย และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562
ภูวดล พิพุธวัฒน์
บทคัดย่อ
ปัจจุบันมีการแสดงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับข่าวสารที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน หรือเกี่ยวกับสภาพปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการแสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างสูง เนื่องจากเป็นช่องทางที่มีความสะดวกรวดเร็ว เสียค่าใช้จ่ายน้อย และสามารถเข้าถึงได้โดยกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย การแสดงความคิดเห็นผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์จึงมีศักยภาพ ในการนำมาใช้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนประกอบการดำเนินงานต่างๆ ของภาครัฐ รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนประกอบการจัดทำร่างกฎหมายเพื่อให้การออกกฎหมายเป็นไปอย่างรอบคอบผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
โดยพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ได้กำหนดให้นำช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้เป็นวิธีการพื้นฐานในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อประกอบการจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย รวมถึงให้หน่วยงานของรัฐใช้วิธีการอื่นร่วมด้วยตามความเหมาะสม อย่างไรก็ตามกลุ่มบุคคลบางกลุ่มยังมีอุปสรรคในการแสดงความคิดเห็นเพื่อประกอบการจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายผ่านช่องทางและวิธีการต่างๆ เนื่องจากความเหลื่อมล้ำของปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ภูมิสังคม หรือลักษณะทางร่างกาย โดยเฉพาะบุคคลผู้มีความพิการซึ่งอาจประสบปัญหาในการแสดงความคิดเห็นทั้งโดยผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์และผ่านวิธีการอื่นๆ
ในบทความนี้ ผู้เขียนจะวิเคราะห์ถึงสิทธิของบุคคลผู้มีความพิการที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับระหว่างประเทศและภายในประเทศ การรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มบุคคลผู้มีความพิการตามแนวทางของพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและ การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในทางปฏิบัติ รวมถึงแนวทางการแก้ไขเพื่อให้บุคคลผู้มีความพิการสามารถแสดงความคิดเห็นเพื่อประกอบการจัดทำร่างกฎหมายได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
คำสำคัญ: สิทธิคนพิการ, บุคคลผู้มีความพิการ,การรับฟังความคิดเห็น, ระบบกลาง, ร่างกฎหมาย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารนิติศาสตร์ศรีปทุม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.