สภาพการจัดการการเรียนการสอนออนไลน์ภายใต้ สถานการณ์ COVID-19 ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนการสอน, การจัดการเรียนการสอนออนไลน, สถานการณ์ โควิด-19บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 2) เพื่อนำข้อมูลที่ได้เป็น
แนวทางพัฒนาสำหรับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 382 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ ค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-way ANOVA และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พบว่า
1. ความพร้อมของนักศึกษาสำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ นักศึกษาส่วนใหญ่มีโทรศัพท์มือถือ (Smart Phone) หรือ iPad สำหรับใช้งาน และใช้อินเทอร์เน็ตบ้านที่พักอาศัยสำหรับการเรียนออนไลน์ โดยความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และรูปแบบการเรียนการสอนหลังสถานการณ์ COVID-19 นักศึกษามีความต้องการกลับสู่วิธีการแบบเดิม (การเรียนในห้องเรียน)
2. นักศึกษาที่มีเพศ อายุ ชั้นปี สถานที่พักอาศัย และประสบการณ์การเรียนออนไลน์แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการเรียนการสอนออนไลน์แตกต่างกัน ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่กลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ของครอบครัวแตกต่างกันความคิดเห็นต่อสภาพการเรียนการสอนออนไลน์ไม่แตกต่างกัน และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความพร้อมของนักศึกษาสำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์มีความสัมพันธ์กับสภาพการจัดการเรียนการสอนออนไลน์กันระดับปานกลาง
References
กฤษณา สิกขมาน. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา การสื่อสารภาษาอังกฤษธุรกิจ โดยการใช้การสอนแบบ E-Learning (รายงานการ
วิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2563). การจัดการเรียนรู้ออนไลน์: วิถีที่เป็นไป ทางการศึกษา. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564, จาก: http://slc.mbu.ac.th/tag.
ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2561). ระบบวิเคราะห์สมรรถนะออนไลน์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาตนเองของบุคลากรอุดมศึกษา (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ:
โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.
ธรรมรัตน์ แซ่ตัน และคณะ. (2564). ความพร้อมต่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์ของนักศึกษาภายใต้สถานการณ์การระบาดไวรัส COVID-19: กรณีศึกษา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา, 3(1), 23-37.
ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2563). เรื่องการปิดที่ทำการเป็นการชั่วคราวเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) (ฉบับที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (เอกสารอัดสำเนา)
ประกาศกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ฉบับที่ 8-9). กรุงเทพฯ: กระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19. วารสารศิลปการจัดการ, 4(3), 783-795.
พงษ์ศักดิ์ บุญภักดี. (2563). การประเมินการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์บนฐานวิถีชีวิตใหม่ สำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการ T-VET
Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3, 4(8), 47-62.
วไลพรรณ อาจารีวัฒนา และ ปริญญาภรณ์ พจน์อริยะ. (2563). การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาด เชื้อไวรัส
โคโรนาของนักศึกษาโครงการพิเศษ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. การค้นคว้าอิสระ โครงการพิเศษหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์, และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส
COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 14(34),
-298.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2561). การศึกษาออนไลน์ : ทฤษฎีและวิธีปฏิบัติ. แพร่: ห้างหุ้นส่วนจำกัดแพร่ไทยอุตสาหการพิมพ์
สิริพร อินทสนธิ. (2563). โควิด-19: กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2),
-213.
Hinkle, D.E. (1998). Applied Statistics for the Behavioral Sciences. Boston: Houghton Mifflin.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาตของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เว้นแต่จะได้รับอนุญาติเป็นอย่างอื่น