การพัฒนาบุคลากรของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, การพัฒนาบุคลากร, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาบุคลากรของการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการพัฒนาบุคลากรของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ 3) เสนอแนวทางในการพัฒนาบุคลากรของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากบุคลากรของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสำนักงานใหญ่ จำนวน 336 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลของการพัฒนาบุคลากร ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ (1) ด้านการพัฒนาองค์กร คือ บุคลากรได้นำองค์ความรู้ใหม่ ๆ มาพัฒนาการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายและให้เกิดความสำเร็จขึ้นในหน่วยงาน (2) ด้านการพัฒนางาน คือ บุคลากรใช้ความคิด พิจารณา ทบทวน ไตร่ตรองในงานที่ทำ เพื่อพัฒนางานที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพ (3) ด้านการพัฒนาอาชีพ คือ บุคลากรมีความมุ่งมั่นในการทำงาน เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นมาตรฐาน และ (4) ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม คือ บุคลากรสนับสนุนการจัดเก็บความรู้และทักษะที่ได้ผลดี เพื่อถ่ายทอด เผยแพร่ให้เพื่อนร่วมงานได้ใช้ประโยชน์ในการทำงานร่วมกัน 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการพัฒนาบุคลากรของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พบว่า อยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ด้าน คือ (1) ด้านความรู้ความสามารถ คือ บุคลากรมีสามารถในการสร้างผลงานที่ดีต่อองค์กรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (2) ด้านความพึงพอใจ คือ บุคลากรมีความพึงพอใจต่อความก้าวหน้าในหน้าที่พอมการพัฒนาในตำแหน่งงานที่ปฏิบัติเสมอ (3) ด้านการฝึกอบรม คือ การฝึกอบรมทำให้บุคลากรมีความก้าวหน้าในการเลื่อนขั้นและเลื่อนตำแหน่ง และ (4) ด้านการเรียนรู้ คือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีนโยบายสนับสนุนส่งเสริมให้บุคลากรได้เพิ่มพูนความรู้อย่างต่อเนื่อง และ 3) แนวทางในการพัฒนาบุคลากรของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรได้พัฒนาทักษะ ความรู้ความสามารถ ด้วยการจัดอบรมให้ตรงตามสายงาน ด้วยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้แก่บุคลากร เพื่อให้บุคลากรนำความรู้มาพัฒนาใช้ในสายงานที่ปฎิบิติ และเป็นการยกระดับมาตรฐานในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ มีการจัดสวัสดิการที่ดี มีสิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมและเพียงพอต่อการดำรงชีวิตประจำวัน มีความยุติธรรมในการเลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือน มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน มีอาชีพที่มั่งคง และมีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคขึ้น มีบริการให้ความรู้ด้วยนิทรรศการเชิงวิชาการ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในด้านการใช้พลังงานไฟฟ้าและงานอื่น ๆ มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสืบค้นข้อมูลด้วยระบบ e-Library มีการจัดการความรู้ภายในองค์กร รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรควบคูไปกับการพัฒนาศักยภาพให้พรอมรับกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
References
กองการพนักงาน. (2560). บุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่. กรุงเทพฯ: การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค.
กชกร เอ็นดูราษฎร์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทํางานของพนักงานบริษัท โกรเฮ่สยาม จํากัด. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
คณะกรรมการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์. (มปป.). แผนยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2557-2566. กรุงเทพฯ: การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค.
ติน ปรัชญพฤทธิ์ และไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์. (2537). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ ข้าราชการพลเรือน.กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2552). การจัดการมุ่งเน้นผลงาน. กรุงเทพฯ : พิมพ์ตะวัน
พิไลวรรณ อินทรักษา. (2550). การดําเนินงานในส่วนงานการฝึกอบรม. วิทยานิพนธิ์. บธ.ม. (บริหารธุรกิจ). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ุ6. ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์, (2547). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์.
สุริยา มนตรีภักดิ์. (2550). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาบุคลากรตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของขอบังคับครุสภา 2548 ในสถานศึกษาสังกัfสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 1. สารนิพนธ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2544). โรงเรียนองค์การแห่งการเรียนรู้กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทิพย์วิสุทธิ์
Akaraborworn, J. (2006). An exclusive interview with the human resources to build organizational commitment. Official journal, 51(3): 1-8.
Kyndt, E., Dochy, F., Michielsen, M. And Moeyaert, B. (2009). Employee retention: organizational and personal perspectives. Vacations and Learning, DOI 10.10072s12186-009-9024-7,June.
Ken Blanchard, John P Carlos Alan Randolph. (1999). The 3 Keys to Empowerment. Berrett - koehler Puplishers.
Likert, R. (1976). New Patterns of Management. New York: McGraw - Hill.
Samuel and Empl. (2009). Employee retention and turnover: Using motivational variables as a panacea. African. Journal of Business Management, 3(8) : 410-415.
Sherman, Arthur W. and Bohlander, George W. (1992). Managing Human Resources. 9th ed. Cincinnati, Ohio : South – Western.
Taro Yamane(1973 ).Statistics: An Introductory Analysis.3rd Ed.New
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาตของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เว้นแต่จะได้รับอนุญาติเป็นอย่างอื่น