สถานภาพงานวิจัยภูมิปัญญาการใช้น้ำมันหอมระเหยในการบรรเทาอาการนอนไม่หลับ
คำสำคัญ:
น้ำมันหอมระเหย, อาการนอนไม่หลับ, ภูมิปัญญา, สถานภาพงานวิจัยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานภาพของงานวิจัยด้านภูมิปัญญาการใช้น้ำมันหอมระเหยและผลต่อการบรรเทาอาการนอนไม่หลับ และเพื่อรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อบรรเทาอาการนอนไม่หลับ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary research) โดยผู้วิจัยคัดเลือกเอกสารระดับทุติยภูมิ กลุ่มประชากร ได้แก่ งานวิจัยจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยในโครงการเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย (Thai Library Integrated System: ThaiLIS) งานวิจัยจากฐานข้อมูล Thai Index Medicus และงานวิจัยจากฐานข้อมูลต่างประเทศ ได้แก่ Medline และ Cumulative Index to Nursing Allied Health Literature (CINAHL) โดยทำการสืบค้นข้อมูลในระยะ 10 ปีที่ผ่านมาคือ ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 จำนวน 15 เรื่อง
ผลการวิจัยพบว่า สถานภาพการวิจัยด้านภูมิปัญญาการใช้น้ำมันหอมระเหย เป็นการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยโรคนอนไม่หลับและใช้น้ำมันหอมระเหยบรรเทาอาการนอนไม่หลับ ที่เข้าร่วมการศึกษาตั้งแต่ 6 -72 คน โดยลักษณะการใช้น้ำมันหอมระเหยคือ การใช้น้ำมันหอมระเหยในการสูดดม และการดูดซึมผ่านทางผิวหนัง ส่วนรูปแบบของการใช้ที่นิยมมากที่สุดคือ การใช้น้ำมันหอมระเหยในการสูดดม น้ำมันหอมระเหยที่นำมาใช้ในการศึกษามี 3 ชนิด คือ น้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์ น้ำมันหอมระเหยเลมอนบาล์ม และน้ำมันหอมระเหยส้ม โดยน้ำมันหอมระเหยสามารถลดอาการนอนไม่หลับได้อย่างมีนัยสำคัญ และไม่พบการรายงานอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงจากการใช้น้ำมันหอมระเหย
References
ฐาปนีย์ หงส์รัตนาวรกิจ. (2555). น้ำมันหอมระเหยและการใช้ในสุคนธบำบัด. นครนายก: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วีณา จิรัจฉริยะกุล. (2542). อะโรมาเธอราปี (Aromatherapy). จุลสารข้อมูลสมุนไพร, 16(2), 36- 41.
สุรพจน์ วงศ์ใหญ่. (มปป). ตำราวิชาการสุคนธบำบัด. นนทบุรี: กองการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์ แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.
สุกัญญา ศกศวัตเมฆินทร์. (2556). ความสำคัญของการนอน.[ออนไลน์], ค้นเมื่อ 18 เมษายน 2563,จาก:
http://www2.samitivejhospitals.com/healtharticle_detail.
Ballard, C.G., O'Brien, J.T., Reichelt, K., and Perry, E.K. (2002). Essential Oils as a safe and effective treatment for the management of agitation in severe dementia: the results of a double blind, placebo-controlled trial with Melissa. Retrieved May 4, 2019, from
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11607948.
Chien, L.W., Cheng, S.L., and Liu, C.F. (2011). The effect of lavender aromatherapy on autonomic nervous system in midlife women with insomnia. [Online], Retrieved May 4, 2019, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21869900.
Cho, M.Y., Min, E.S., Hur M.H., and Lee, M.S. (2013). Effects of aromatherapy on the anxiety, vital signs, and sleep quality of percutaneous coronary intervention patients in intensive care units. [Online], Retrieved May 4, 2019, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23476690.
Choi, E.M., and Lee, K.S. (2012). Effects of Aroma inhalation on Blood Pressure, Pulse Rate, Sleep, Stress, and Anxiety in Patients with Essential Hypertension. [Online], Retrieved May 4, 2019, from http://www.koreascience.or.kr/article/JAKO201218552489515.page.
George, G.T., Godfrey, A.D., and Prescott, P. (2005). A single-blinded, randomized pilot study evaluating the aroma of Lavandula augustifolia as a treatment for mild insomnia [Online] Retrieved May 4, 2019, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16131287.
Jamie, L., Catherine, M., and Karen, K.D. (2014). Effect of Lavender Aromatherapy on Vital Signs and Perceived Quality of Sleep in the Intermediate Care Unit: A Pilot Study. [Online], Retrieved May 4, 2019, from. https://www.researchgate.net/publication/259559842_Effect_of_Lavender_Aromatherapy_on_Vital_Signs_and_Perceived_Quality_of_Sleep_in_the_Intermediate_Care_Unit_A_Pilot_Study.
Karadag, E., Samancioglu, S., Ozden, D., and Bakir, E. (2015). Effects of aromatherapy on sleep quality and anxiety of patients. [Online], Retrieved May 4, 2019, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/26211735.
Landis,C.A. (2002). Sleep and methods of assessment. The Nursting Clinics of North America, 37(4),583-597.
Lee, Sung-Gee., and Kim, H.J. (2004). Effects of Aroma Inhalation on Fatigue and Sleep Quality of Postpartum Mothers. [Online], Retrieved May 4, 2019, from https://kjwhn.org/Synapse/Data/PDFData/0102KJWHN/kjwhn-10-235.pdf.
Lin ,PW., Chan, WC., Ng, BF., and Lam, LC. (2007). Efficacy of aromatherapy (Lavandula angustifolia) as an intervention for agitated behaviours in Chinese older persons with dementia: a cross-over randomized trial. [Online], Retrieved May 4, 2019, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17342790.
Mahnaz, KF., Zahra, BM., Ziba T., Reza B., Ali M., and Pouran M. (2015). Lavender Fragrance Essential Oil and the Quality of Sleep in Postpartum Women. [Online], Retrieved May 4, 2019, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4443384/.
Maria, F., and Arnim, Q. (2014). A case series on the use of lavendula oil capsules in patients suffering from major depressive disorder and symptoms of psychomotor agitation, insomnia and anxiety. [Online], Retrieved May 4, 2019, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17342790.
Smallwood, J., Brown, R., Coulter, F., Irvine, E., and Copland, C. (2001). Essential oil and behavior disturbances in dementia: a randomized controlled trial. [Online], Retrieved May 4, 2019, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11607948.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาตของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เว้นแต่จะได้รับอนุญาติเป็นอย่างอื่น