ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท เมกาทรานซ์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, การปฏิบัติงาน, บริษัท เมกาทรานซ์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัดบทคัดย่อ
การวิจัยปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท เมกาทรานซ์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท เมกาทรานซ์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท เมกาทรานซ์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงาน บริษัท เมกาทรานซ์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด จำนวน 42 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และใช้สถิติวิเคราะห์ (Analytical Statistics) ได้แก่ สถิติ T-Test สถิติวิเคราะห์การผันแปรทางเดียว F-Test (One-way ANOVA) สถิติอนุมาน (Inferential Statistic) โดยใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า (1) พนักงานของ บริษัท เมกาทรานซ์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 20-30 ปี สถานภาพโสด โดยมีการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ซึ่งส่วนใหญ่มีตำแหน่งงานระดับปฏิบัติการ โดยมีระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน 1-3 ปี และมีรายได้สุทธิ/เดือนต่ำกว่า 15,000 บาท (2) ผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบไปด้วย เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน รายได้สุทธิ/เดือน ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่ต่างกัน มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานที่ไม่แตกต่างกัน ด้วยระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ (3) ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า ความแปรปรวนของปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท เมกาทรานซ์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด ได้ประมาณร้อยละ 31.50 (R2 = 0.315) โดยผลการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงาน พบว่า ความผูกพันต่อองค์กร มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้น ปัจจัยด้านองค์กร ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ไม่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กรมการพัฒนาชุมชน. (2551). รายงานคุณภาพชีวิตของคนไทยจากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.) ปี 2551.กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน.
ขนิษฐา นิ่มแก้ว. (2554). ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันของบุคลากรในองค์การ กรณีศึกษา:สํานักบริหารโครงการกรมชลประทานสามเสน. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ณิศาภัทร ม่วงคำ. (2559). คุณภาพชีวิตในการทำงาน และปัจจัยองค์การที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร กรณีศึกษา เจ้าหน้าที่อาสาสมัครกู้ภัย มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.
ปวันรัตน์ ตนานนท์. (2550). คุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรมในจังหวัด เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิวพร โปรยานนท์. (2554). พฤติกรรมของผู้นําและสภาพแวดล้อมการทํางานที่ส่งผลต่อความสร้างสรรค์ในงาน ของบุคลากร กรณีศึกษา: องค์การธุรกิจไทยที่มีนวัตกรรมยอดเยี่ยมปี 2552. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ศุภลักษณ์ พรมศร. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทํางาน การรับรู้รูปแบบภาวะผู้นำของพนักงาน ความผูกพันในงานกับความพึงพอใจในงาน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุดารัตน์ ครุฑสึก. (2557). ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทํางานของพนักงาน ความผูกพันต่อองค์กรและการสื่อสารในองค์กรส่งผลต่อ การเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรของพนักงานเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สมฤดี ชมภูแดง. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
อารยา การดี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อัครเดช ไม้จันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน กลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Likert, Rensis. (1961). New Pattern of Management. New York : McGraw – Hill.
Meyer, J. P., & Allen, N. J. (1990). A three-component conceptualization of organizational commitment. Human Resource Management Review. Volume 1, Issue 1, Spring 1991, 61–89.
Robbins SP, Judge TA. (2013). Organizational behavior.(15th ed.).Upper Saddle River, N.J.: Pearson/Prentice Hall.)
Walton. (1975). Criteria for Quality of Working Life. In Loues E.Davis and Albert B.Cherns (eds.). The Quality of Working Life. New York: Free Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาตของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เว้นแต่จะได้รับอนุญาติเป็นอย่างอื่น