บทบาทของผู้นำในการพัฒนาชุมชนบ้านคลองสาม หมู่ที่ 16 ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
การเปลี่ยนแปลงชุมชน, ผู้นำชุมชน, บทบาทของผู้นำบทคัดย่อ
การศึกษาบทบาทของผู้นำในการพัฒนาชุมชนบ้านคลองสาม หมู่ที่ 16 ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงชุมชนบ้านคลองสาม และศึกษาบทบาทผู้นำในการพัฒนาชุมชนบ้านคลองสาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ปราชญ์ชุมชน กรรมการหมู่บ้านคลองสาม หมู่ที่ 16 ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 27 คน ครู กศน.อำเภอคลองหลวง อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ พัฒนากรประจำตำบลคลองสาม จำนวน 3 คน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า การเปลี่ยนแปลงของชุมชนบ้านคลองสาม เป็นผลมาจากนโยบายของรัฐ ภัยธรรมชาติ และการเมือง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของชุมชน ในส่วนของบทบาทผู้นำในการพัฒนาชุมชน พบว่า ผู้นำมีบทบาทในการพัฒนาชุมชน ดังนี้ 1. บทบาทในสนับสนุนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 2. บทบาทด้านการบริหารจัดการชุมชน 3. บทบาทด้านการกระตุ้น หรือปลุกเร้าให้สมาชิกในชุมชนสนใจ และกระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์กับคนในชุมชน 4. บทบาทในด้านการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมสนับสนุนด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการพัฒนาด้านสังคม เพื่อให้ชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในหมู่บ้านได้มีอาชีพ มีรายได้ 5. บทบาทด้านการประสานงาน สร้างเครือข่ายการพัฒนาชุมชน ระหว่างผู้นำในอำเภอคลองหลวง ผู้นำในจังหวัดปทุมธานี และประสานงานนำเครือข่ายการพัฒนาภายนอกเข้ามาในชุมชน 6. บทบาทการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ให้โอกาสเยาวชนได้เรียนรู้การทำงานพัฒนาชุมชน ปลูกฝังค่านิยมความรับผิดชอบต่อชุมชนและท้องถิ่น
References
ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต. (2552). 11 บทบาทของผู้นำที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำที่ดี. [ออนไลน์],ค้นเมื่อ 17 เมษายน 2564,จาก:https://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1355.
วราภรณ์ ศรีบุญ, ปิยพร แตงสุวรรณ, พรรชชา ภิมย์ลา, วราภรณ์ พรมบาล, สมหฤทัย อุดมโชคชัย และอมรรัตน์ ไชยชาญยุทธ์. (2560). การมีส่วนร่วมของเครือข่ายประชาชนในการจัดการภัยพิบัติ ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 12(1), 47. [ออนไลน์],ค้นเมื่อ 24 เมษายน 2564 จาก:https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/128467/96567.
ศรีพักตร์ ปั้นน้อย, สมหมาย แจ่มกระจ่าง และศรีวรรณ ยอดนิล. (2558).สังคมของชุมชนเขตพื้นที่สีเขียว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 11(2), 154-165.
ศิริชัย ไตรสารศรี. (2539). การรับรู้บทบาทของผู้นำท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน: ศึกษากรณีคลองหลวง อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สอง (พ.ศ. 2510-2514).[ออนไลน์],ค้นเมื่อ 24 เมษายน 2564 จาก: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=3777.สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ราชกิจจานุเบกษา. พระราชโองการ ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580). [ออนไลน์], ค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2564, จาก: https://ratchakitcha2.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF.
อุมาพร กาญจนคลอด ธารินี จริยาปยุกต์เลิศ และสุพัตรา คงขำ. (2561). บทบาทผู้นำชุมชนต่อการจัดการภัยพิบัติของตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 1, 20 - 21 สิงหาคม 2561 ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 589-601.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาตของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เว้นแต่จะได้รับอนุญาติเป็นอย่างอื่น