การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของ เทศบาลเมืองบางรักพัฒนา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
การประเมิน, ความพึงพอใจ, ผู้รับบริการ, การให้บริการ, เทศบาลเมืองบางรักพัฒนาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของเทศบาลเมืองบางรักพัฒนา 2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจด้านการขั้นตอนให้บริการ ด้านช่องทางการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในเทศบาลเมืองบางรักพัฒนา เป็นวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม และสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ ประชาชนผู้รับบริการ และหัวหน้าหน่วยงานผู้ให้บริการ จำนวน 21 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม กลุ่มประชาชนจำนวน 400 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างในการแบ่งชั้นภูมิตามหมู่บ้านที่อยู่ของผู้รับบริการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจการให้บริการในเทศบาลเมืองบางรักพัฒนา โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (=4.87) 2) ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของเทศบาลเมืองบางรักพัฒนา จำนวน 4 งาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด จำแนกตามงานดังนี้ 1) งานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ (=.96) 2) งานด้านพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ (=4.92) 3) งานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ (=4.85) 4) งานด้านการควบคุมโรคติดต่อ มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ (=4.80) และระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ จำแนกตามงานที่ผู้รับบริการติดต่อบริการจากผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการให้บริการต่าง ๆ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.88)
References
ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2539). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท พิฆเนศพริ้นท์ติ้งเซ็นเตอร์ จำกัด .
ชูศักดิ์ เที่ยงตรง. (2518). การบริหารการปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2547).การปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2540.พิมพ์ครั้งที่ 3 ปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ประพันธ์ แสงเนติธรรม. (2545). การประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการให้บริการประชาชนของสำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาสันป่าตอง เชียงใหม่: วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ไพวัลย์ ชลาลัย. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของพนักงานเทศบาลตำบลคลองใหญ่อำเภอคลองใหญ่จังหวัดตราด. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2545). พื้นฐานการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2547). คู่มือคำอธิบายและแนวทางปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
สำนักบริหารการทะเบียน อำเภอบางบัวทอง. (2563). จำนวนประชากรจากทะเบียนบ้านแยกรายพื้นที่ระดับ.[ออนไลน์], ค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563, จาก: https://www.buathongcity.go.th/.
สุจิตรา เขื่อนขันธ์. (2549). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการโครงการจัดหน่วย บริการอำเภอเคลื่อนที่ในอำเภอเมืองจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เสรี ดําประไพ. (2548). ความคาดหวังของประชาชนผู้ใช้บริการต่อการใช้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรีสาขาศรีราชา. ปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยบูรพา.
Denhardt, Janet V. & Denhardt, Robert. B. (2007). The New Public Services (Expanded Edition):ServingnotSteering. Armonk, New York: M.E.Sharpe.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาตของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เว้นแต่จะได้รับอนุญาติเป็นอย่างอื่น