ส่วนประสมการตลาดบริการของมหาวิทยาลัยภาครัฐในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ส่วนประสมการตลาดบริการ, มหาวิทยาลัยภาครัฐบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ส่วนประสมการตลาดบริการของมหาวิทยาลัยภาครัฐในกรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบส่วนประสมการตลาดบริการของมหาวิทยาลัยภาครัฐในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ประชากรที่ศึกษาคือ บุคคลทั่วไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ One-way ANOVA
ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญของส่วนประสมการตลาดบริการของมหาวิทยาลัยภาครัฐในกรุงเทพมหานครในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกตามรายด้านพบว่า ให้ความสำคัญอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยดังนี้ ด้านผู้ให้บริการ ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านภูมิทัศน์แหล่งให้บริการ ด้านการสื่อสารการตลาด ด้านการจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคา ตามลำดับ 2) ส่วนประสมการตลาดบริการของมหาวิทยาลัยภาครัฐในกรุงเทพมหานครในภาพรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 เมื่อจำแนกตามอายุและอาชีพ
References
ชัยสมพล ชาวประเสริฐ.(2547). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น
ฉกาชาต สุขโพธิ์เพ็ชร์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ ออล สตาร์กอล์ฟ คอมเพล็กซ์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์. (ม.ป.ป.). ข้อคำนึงในการสร้างเครื่องมือประเภท Rating scale เพื่องานวิจัย. [ออนไลน์].ค้นเมื่อ 18 มีนาคม2562, จาก https://office.com/getword.
น้ำทิพย์ เนียมหอม. (2560). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่ออาชีวศึกษาในวิทยาลัยเทคโนโลยีวิบูลย์บริหารธุรกิจ รามอินทรา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกริก.
มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (มปป.). บทบาทหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษา. [ออนไลน์].ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2564, จากhttps://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=38&chap= 3&page=t38-3-infodetail09.html.
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (มปป.). วิกฤตมหาวิทยาลัยปิดตัวพลิกโฉมสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต. [ออนไลน์].ค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2564, จาก https://infocenter. nationalhealth.or.th/node/27496.
สมศักดิ์ หงส์สุวรรณ. (2561). วิจัยเรื่องปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการเลือกเรียนสถาบันสอนภาษาต่างประเทศอัพเกรด อคาเดมี่ จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระของหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ กลุ่มวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สุนทรีย์ สองเมือง. (2554). ปัจจัยทางการตลาดบริการของการเลือกสถาบันเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยราชพฤกษ์(รายงานการวิจัย). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565, จาก http://www.rpu.ac.th/Library_web/doc/RC_RR/2554 Market _Suntree.pdf.
อมรารัตน์ บุญภา. (2557). ความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยบูรพา.
Campus star. (มปป.). วิกฤตนักศึกษาสมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัยทั่วประเทศลดลง 10-15%. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565, จาก https://today.line.me/th/v2/article/nYMr1M.
Hair,Jr, Joseph F., et al. (2010). Multivariate data analysis a global perspective. New Jersey: Pearson education.
Cochran, W. G. (1953). Sampling techiques. New York: John Wiley & Sons Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครวารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาตของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เว้นแต่จะได้รับอนุญาติเป็นอย่างอื่น